Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 14, No. 3 (2008) open journal systems 


การเก็บหาและการใช้ประโยชน์ของป่าในป่าเขาหัวช้างตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
Gathering and Utilization of Non-Timber Forest Products in Khao-Hua Chang Community Forest, Tamot Sub-district, Tamot District, Phatthalung Province


เสาวลักษณ์ รุ่งตะวันเรืองศรี, คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร
โรจนัจฉริย์ ด่านสวัสดิ์, คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร
ประภาพรรณ กำภู, คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

Saowalak Roongtawanreongsri, Faculty of Environmental Management, Prince of Songkla University
Rotchanatch Darnsawasdi, Faculty of Environmental Management, Prince of Songkla University
Prapapan Kamphoo, Faculty of Environmental Management, Prince of Songkla University


Abstract
Livelihoods of Tamot local people depend on Khao Hua Chang forest in various ways: food sources, medicines, materials for daily life and income. This study aims to survey the utilization of these non-timber forest products by community people. The data come from a questionnaire responded by 165 families who gathered non-timber forest products. It was found that in 2004, 85 different kinds of non-timber forest products were gathered. The product that was most gathered was Sator (Parkia speciosa Hassk.), up to 55.75% of the total households that utilized the forest. Forty-nine products were gathered for household use only, and only 3 products for commercial use. They are dammar, hardwood and some medicinal plants. The remaining 33 products were utilized both in the household and for commercial purpose. It was estimated that the use of all non-timber forest products generated a total gross value of 5,010,307.27 Baht per year for the whole community, or 17,893.95 Baht/year per household.

Keywords: community forest, gathering, Khao Hua Chang forest, non-timber forest products, Tamot, utilization

บทคัดย่อ
วิถีชีวิตของชาวตะโหมดพึ่งพิงป่าเขาหัวช้างในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการเป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโรค เครื่องมือ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน และแหล่งรายได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการใช้ประโยชน์และปริมาณ การใช้ประโยชน์ของป่าจากป่าของชุมชน วิธีการศึกษา ใช้การสัมภาษณ์ด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 165 ครัวเรือนที่เข้าเก็บหาของป่าในพื้นที่ศึกษา ผลการศึกษา พบว่า ในปี 2547 มีของป่าที่เก็บหาเพื่อการใช้ประโยชน์ จำนวน 85 ชนิด ของป่าที่มีจำนวนผู้เก็บหาเป็นสัดส่วนสูงสุดคือ สะตอ (ร้อยละ 55.76 ของครัวเรือนทั้งหมด) ของ ของป่าที่เก็บหาเพื่อใช้ประโยชน์ในครัวเรือนอย่างเดียวโดยไม่ได้นำไปจำหน่ายเลยมีอยู่ 49 ชนิด ส่วนชนิดของของป่า ที่ถูกเก็บหาเพื่อการจำหน่ายเพียงอย่างเดียวมีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ น้ำมันยาง ไม้แก่น และสมุนไพรอื่นๆ นอกนั้นเป็น การเก็บหาทั้งเพื่อการบริโภคในครัวเรือนและการจำหน่าย 33 ชนิด มูลค่าการใช้ประโยชน์จากของป่าที่แต่ละครัวเรือน ได้รับเฉลี่ยเท่ากับ 17,893.95 บาทต่อครัวเรือนต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่ารวมของประชากรทั้งหมดเท่ากับ 5,010,307.27 บาทต่อปี

คำสำคัญ: การเก็บหา, การใช้ประโยชน์, ของป่า, ตะโหมด, ป่าเขาหัวช้าง, ป่าชุมชน


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548