Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 14, No. 2 (2008) open journal systems 


อิทธิพลของบริบททางสังคมต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6
The Influences of Social Context towards High School Students in Making Decision to Continue Education in the Area of Science and Technology


ธีระดา ภิญโญ, สาขาวิชาสถิติประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Terada Pinyo, Department of Applied Statistics, Faculty of Science and Technology,Suan Sunandh


Abstract
The purposes of this research were to investigate and to identify the influences of social context in making decision to continue education in the area of science and technology. By using a proportional stratified random sampling, 500 high school students studying in the 2005 academic year in Dusit district were selected for the study. Data collection was made by using the questionnaire and was analyzed by using mean, standard deviation, correlation coefficient, simple and logistic regression analysis. The findings were: 1) The factors having most influences were attitudes and interests towards science and technology, security and career progress, and facilities simultaneously, 2) The factors having negative effects were environment that had closed relationship to individual, tuition and fee, and gender simultaneously. It is recommended that, in terms of policy, school administrators should focus on students’attitudes and interests towards science and technology.

Keywords: high school, making decision to continue education, science and technology, social context

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ค้นหาและตรวจสอบอิทธิพลของบริบททางสังคมต่อการตัดสินใจเลือกศึกษา ต่อสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 ที่กำลังเรียนในปีการศึกษา 2548 สายวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ และสายศิลป์คำนวณ ในพื้นที่เขตดุสิต จำนวน 500 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตาม สัดส่วน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์ถดถอยอย่างง่าย และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติค ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัย ที่มีอิทธิพลมากที่สุดต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คือ ปัจจัยเจตคติและความสนใจ ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รองลงมา ปัจจัยด้านความมั่นคงและความก้าวหน้าในอาชีพ และปัจจัยด้านสิ่ง อำนวยความสะดวก 2) ปัจจัยที่มีผลในทางลบต่อการตัดสินใจของนักเรียน ได้แก่ ปัจจัยด้านภาวะแวดล้อมที่ใกล้ชิด ตัวบุคคล ปัจจัยด้านค่าธรรมเนียมการเรียน และปัจจัยเพศ ตามลำดับ จากข้อค้นพบข้างต้นนี้ทำให้เกิดข้อเสนอแนะ ในเชิงนโยบายให้ผู้บริหารสถานศึกษาตระหนักว่าถ้าต้องการเพิ่มจำนวนนักศึกษาในสาขาวิชานี้ควรทุ่มเทไปที่ การเพิ่มเจตคติและความสนใจทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของนักเรียนให้มากขึ้นอย่างยิ่ง

คำสำคัญ: บริบทของสังคม, การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ, วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มัธยมศึกษา


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548