Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 14, No. 2 (2008) open journal systems 


สภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวปฏิรูปหลักสูตรวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานตามการรับรู้ของครูวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย
Science Teacher Perception about the State of Teaching and Learning Science According to Basic Science Curriculum Reform in Thailand


วรรณทิพา รอดแรงค้า, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

Vantipa Roadrangka, Department of Education, Faculty of Education, Kasetsart University


Abstract
The objective of this research was to study the state of teaching and learning science in basic science education reform based on the perception of science teachers. The subjects of 166 science teachers were selected using a stratified random sampling from the 45 IPST leader schools in mathematics, science and technology all over the country. The instrument was the two parts Science Teacher Questionnaire. The first part asked for background information and the second part asked about science teaching and learning. The statistics used were frequencies and percentages. The research results found that during a typical school week, the majority of the teachers taught 18-20 hours, spent more than 4 hours for planning the lessons, used documents based on the Basic Science Curriculum to plan the lessons, were familiar with science standards, revised the lessons almost daily, conducted laboratory and quantitative problem solving once or twice a week, had remedial and enrichment class once or twice a month, let the students work in small groups, assigned science homework by doing worksheets or workbooks once or twice a week, collected and corrected assignments and then returned them to students, used textbooks to teach science and let students access computers to surf the Internet for information once or twice a month, gave significant weight to projects or practical/laboratory exercises in assessing student work, and used assessment information to provide students’ grades or marks.

Keyword: basic science curriculum reform, learning science, science teacher, teaching science

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ตามแนวปฏิรูปหลักสูตร วิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานตามการรับรู้ของครูวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิ ได้ครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 166 คน จากโรงเรียนแกนนำด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของ สสวท. จำนวน 45 โรงเรียน ทั่วประเทศ เครื่องมือได้แก่ แบบสอบถามครู ซึ่งแบ่งเป็น 2 ตอน ตอนแรกถามภูมิหลังของครู ตอนที่สองถามเกี่ยวกับ การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า ครูส่วนใหญ่ สอนวิทยาศาสตร์ 18-20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และใช้เวลามากกว่า 4 ชั่วโมงในการวางแผนการสอน ครูมีความคุ้นเคย กับสาระมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ดังนั้น ในการจัดกิจกรรมในห้องเรียนครูทบทวน บทเรียนเกือบทุกวัน ส่วนการทดลองและการแก้ปัญหาการคำนวณทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ มีการจัดกิจกรรมเสริมและ แก้ไขข้อบกพร่องของนักเรียน 1-2 ครั้งต่อเดือน มีการวางแผนบทเรียนวิทยาศาสตร์ ให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่มให้ การบ้านวิทยาศาสตร์นักเรียนทำ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ โดยให้ทำใบงานหรือสมุดแบบฝึกหัด เมื่อให้การบ้านนักเรียน ทำ ก็จะรวบรวมตรวจแก้ไขและคืนการบ้านนักเรียน ครูใช้หนังสือแบบเรียนวิทยาศาสตร์ในการสอนและให้นักเรียน ใช้ คอมพิวเตอร์ในการค้นหาข้อมูล 1-2 ครั้งต่อเดือน ในการประเมินผลงานที่นักเรียนทำ ครูส่วนใหญ่ให้น้ำหนักค่อนข้าง มาก กับคุณภาพของโครงงานวิทยาศาสตร์หรือการปฏิบัติการทดลองในห้องเรียน และใช้ข้อมูลที่ได้จากการประเมิน ในการให้ คะแนนหรือระดับคะแนนแก่นักเรียน

คำสำคัญ: การปฏิรูปหลักสูตรวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน, การเรียนรู้วิทยาศาสตร์, การสอนวิทยาศาสตร์, ครูวิทยาศาสตร์


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548