Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 9, No. 1 (2003) open journal systems 


ปัจจัยที่มีผลต่อการอ่านของนักเรียนในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ของประเทศไทย

สุจิตรา จรจิตร, ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการอ่านของนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ ได้แก่ ปัจจัยด้านชีวสังคม ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเป็นนักศึกษาปีการศึกษา 2541 ในสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ 4 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สถาบันราชภัฏยะลา และสถาบันราชภัฏสงขลา จำนวน 539 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่าย ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านชีวสังคม ปัจจัยด้านครอบครัวและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม มีความสัมพันธ์กับการอ่านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมีอำนาจในการพยากรณ์การอ่านของนักศึกษาได้ร้อยละ 26.55 ปัจจัยด้านครอบครัวมีอำนาจการพยากรณ์การอ่านได้ร้อยละ 15.05 ปัจจัยด้านชีวสังคมมีอำนาจการพยากรณ์การอ่านได้ร้อยละ 6.75 ปัจจัยทุกตัวเมื่อรวมกันจะมีอำนาจในการพยากรณ์การอ่านได้ร้อยละ 33.81 ตัวพยากรณ์ที่ดี 3 ลำดับแรก คือ กลุ่มเพื่อน การส่งเสริมการอ่านทางบ้าน และการส่งเสริมการอ่านทางสถานศึกษา

คำสำคัญ : การอ่าน, นักศึกษา, ปัจจัย, ภาคใต้

Abstract
This research aimed to identify the factors affecting reading among students in higher education institutes in Southern Thailand. Through a multi-stage random sampling. 539 students of the 1998 academic year from 4 higher education institutes in Southern Thailand : Prince of Songkla University, Rajabhat Institute Songkhla, Institute Yala, and Thaksin University were selected, Arithmetic mean, standard deviation, simple correlation, multiple correlation, and stepwise multiple regression analysis were used in this study. It was found that students’ demographic factor, family background factor, and environment factor were related to students’ significantly at the .001 level. With respect to prediction of students’ reading, the environment factor had 26.55% predictive power; the family background factor had 15.05% predictive power; and the students’ demographic factor had 6.75% predictive power. All three factors had33.81% predictive power, Three best predictors were peer group, reading encouragement at home, and reading encouragement in an educational institute, respectively.

Keywords : factors, reading, Southern Thailand, student


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548