Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 14, No. 1 (2008) open journal systems 


ความต้องการในการพัฒนาตนเองตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของครูพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
Needs for Self Development According to the Educational Reforms of Physical Education Teachers in Elementary Schools of Three Southern Border Provinces


ประชา ฤาชุตกุล, ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ทวี ทองคำ, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
พงศา แสงเกื้อหนุน, โรงเรียนบ้านกระหวะ อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

Pracha Reuchutakul, Department of Physical Education, Faculty of Education, Prince of Songkla Univer
Thawee Tongkum, Department of Educational Evaluation and Research, Faculty of Education, Prince
Pongsa Sangkuanoon, Ban Kravah School, Mayo District, Pattani


Abstract
This research intended to study the level of self development methods according to the educational reforms of physical education teachers in elementary schools of three southern border provinces and to compare the needs of those teachers who differed in academic degree, teaching experiences, and the provinces where their work. The population of this research were 196 physical education teachers in elementary schools of three southern border provinces, questioned in the academic year 2002. The instrument was a questionnaire of which reliability was 0.94. Statistic tools for analyzing data were percentage, mean, Standard deviation, t-test and F-test. This research found that, physical education teachers in elementary schools of three southern border provinces needed self development at high level, as well as their needs for the self development method as being proposed by the guideline for education reform. In education according to the first three aspects which they needed were: development of teaching profession and personnel, reforms of learning and teaching process and reforms of curriculum. Regarding the physical education teacher with different degree and different teaching experiences had differed needs significantly (p<0.01). The physical education teachers who held the physical education degree needed for self development more than the physical education teachers who didn’t hold the physical education degree. Furthermore the physical education teachers who had 5-10 years teaching experiences needed for self development more than the physical education teachers teaching with 10 years of experiences or more. The self-development needs of physical education teachers who work in different provinces were not significantly different.

Keywords: education reforms, needs for self development, elementary schools, three southern border provinces, physical education teacher

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความต้องการในการพัฒนาตนเองและความต้องการ วิธีการในการพัฒนาตนเองตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาของครูพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และเปรียบเทียบครูพลศึกษาที่มีวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในตำแหน่งครูและจังหวัดที่ปฏิบัติงานต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ ครูพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปีการศึกษา 2545 จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือแบบสอบถามที่ค่าความเชื่อมั่น 0.94 สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่าครูพลศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความต้องการในการพัฒนาตนเองและความต้องการวิธีการในการพัฒนาตนเองตามแนวทางปฏิรูปการศึกษาอยู่ในระดับมาก และครูพลศึกษา มีความต้องการในการพัฒนาตนเองใน 3 ด้าน โดยจัดอันดับความต้องการได้ ดังนี้ ด้านการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากร ด้านการปฏิรูปกระบวนการเรียนการสอน และด้านการปฏิรูปหลักสูตร สำหรับครูที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน และมีประสบการณ์ในตำแหน่งครูต่างกัน มีความต้องการในการพัฒนาตนเองตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยครูพลศึกษาที่มีวุฒิทางพลศึกษา มีความต้องการในการพัฒนาตนเองมากกว่าครูพลศึกษาที่ไม่มีวุฒิทางพลศึกษา และครูพลศึกษาที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งครูตั้งแต่ 5-10 ปี มีความต้องการในการพัฒนาตนเองมากกว่าครูพลศึกษาที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งครูมากกว่า 10 ปี ส่วนครูพลศึกษาที่ปฏิบัติงานในจังหวัดที่ต่างกันมีความต้องการในการพัฒนาตนเองไม่แตกต่างกัน

คำสำคัญ: การปฏิรูปการศึกษา, ความต้องการในการพัฒนาตนเอง, ครูพลศึกษา, โรงเรียนประถมศึกษา, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548