Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 13, No. 4 (2007) open journal systems 


การประยุกต์เทคโนโลยีเชิงบูรณาการของนักศึกษาฝึกสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Applications of Integration Technology of Preservice Teacher Students of Faculty of Education, Prince of Songkla University


คณิตา นิจจรัลกุล, ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วสันต์ อติศัพท์, ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุเทพ สันติวรานนท์, ภาควิชาประเมินผลและการวิจัยการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
มะลิ ศรีชู, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Kanita Nitjarunkul, Department of Educational Technology, Faculty of Education, Prince of Songkla Un
Wasant Atisabda, Department of Educational Technology, Faculty of Education, Prince of Songkla Un
Suthep Suntiwaranont, Department of Educational Evaluation and Research, Faculty of Education, Prince
Mali Srichoo, Department of Education, Faculty of Education, Prince of Songkla University, Pat


Abstract
The purpose of this research was to study the basic knowledge concerning such computer technological integration of the preservice teacher students and did case studies of those applications in relation to the Faculty’s curriculum in preparing in-depth experience for preservice teacher students at schools. The subjects of this research were pre-service teacher students who were enrolled as fourth-year students in 2003, Faculty of Education, Prince of Songkla University. The research instruments were questionnaire, interview, observation and lesson plan. Frequency, percentage, arithmetic means, and standard deviation were used for data analysis. The findings were as follows: 1) The students had basic knowledge in computer technological integration at a low level. The students received experiences of computer technological integration preparation before pre-service at a modulate level. The students’ computer technological integration during their preservice practicum was at a low level. Supervising teacher and school environment effected to computer technological integration during their preservice at a low level. It was found that the students had an overall awareness of computer technological integration during pre-service at a high level. 2) As for the students’ case study of in-depth experiences of computer technological integration by the Faculty of Education’s curriculum, it was found that subjects about technology in the curriculum at undergraduate level were favorable for integrating technology during preservice at a high level. Students could apply their knowledge in computer technological integration to the preparation of learning and teaching activities as well as to daily life. They were also encouraged to use computer technology in searching for information on the internet and learning motivation from virtual classrooms to apply in learning and teaching activities. Computer technological integration skill, supervising teacher, and school environment were the factors which effected to computer technological integration during their preservice.

Keywords: application of integration technology, educational technology, preservice, preservice teacher student, teacher education

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของ นักศึกษา และศึกษาเฉพาะกรณีด้านการจัดประสบการณ์การบูรณาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของหลักสูตรศึกษาศาสตร์ แก่นักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่กำลังฝึกสอนในระดับมัธยมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ ชั้นปีที่ 4 ปีการศึกษา 2546 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การสังเกต และแผนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษามีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับน้อย นักศึกษาได้รับการเตรียมประสบการณ์ การบูรณาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ระหว่างการเรียนรายวิชาในหลักสูตร อยู่ในระดับปานกลาง การบูรณาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในระหว่างการฝึกสอนอยู่ในระดับน้อย อาจารย์พี่เลี้ยง และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของนักศึกษาระหว่างการฝึกสอนอยู่ใน ระดับน้อย แต่นักศึกษามีความตระหนักต่อการบูรณาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ระหว่างการฝึกสอนอยู่ในระดับมาก 2) ศึกษาเฉพาะกรณีด้านการจัดประสบการณ์การบูรณาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของหลักสูตรศึกษาศาสตร์ พบว่า รายวิชาในหลักสูตรศึกษาศาสตร์ระดับปริญญาตรีที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีเอื้อต่อการบูรณาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ระหว่างการฝึกสอนอยู่ในระดับมาก นักศึกษาสามารถนำความรู้การบูรณาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน และนักศึกษาได้รับการกระตุ้นให้ใช้ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูลและได้รับแรงกระตุ้นให้เรียนด้วย ห้องเรียนเสมือน เพื่อประยุกต์ใช้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การขาดทักษะเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ของนักศึกษา สิ่งแวดล้อมในโรงเรียน และอาจารย์พี่เลี้ยงเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการบูรณาการเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ระหว่างการฝึกสอน

คำสำคัญ : การประยุกต์เทคโนโลยีเชิงบูรณาการ, การฝึกสอน, การฝึกหัดครู, นักศึกษาฝึกสอน, เทคโนโลยีการศึกษา


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548