Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 9, No. 1 (2003) open journal systems 


การสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนระหว่างปีการศึกษา 2527-2541

สุวิมล สถิระนาคะภูมินทร์, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิรัตน์ ธรรมาภรณ์, ภาควิชาประเมินผลและวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน ระหว่างปีการศึกษา 2527-2541 จำนวน 162 ชื่อเรื่อง โดยสังเคราะห์สภาพทั่วไปของงานวิจัยและผลการวิจัยในเชิงปริมาณด้วยวิธีการนับคะแนนเสียงเพื่อหาความมีนัยสำคัญโดยรวม และใช้วิธีวิเคราะห์เมตต้าเพื่อหาค่าขนาดของผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัยและแบบสรุปรายงานการวิจัยของวิทยานิพนธ์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละและสูตรหาค่าขนาดของผลของแกลส ผลการวิจัยพบว่า 1.มีการทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการเรียนการสอนมากที่สุดในปีการศึกษา 2540 ระเบียบวิธีวิจัยที่ใช้มากที่สุดคือการวิจัยเชิงทดลอง เนื้อหาวิชาที่มีการวิจัยมากที่สุดคือ วิชาภาษาไทย ระดับการศึกษาของประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ทำการวิจัยคือ ระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติและอยู่ในภาคใต้มากที่สุด ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนมากที่สุด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบทดสอบมากที่สุด การหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นการหาความตรงเชิงเนื้อหามากที่สุดและหาความเที่ยงประเภท KR-20 มากที่สุด ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมากที่สุดคือ ANOVA 2.ผลการวิเคราะห์ความมีนัยสำคัญโดยรวม พบว่าวิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวกับวิธีสอนจำนวน 88 เรื่อง มี 10 วิธีจาก 12 วิธีมีนัยสำคัญโดยรวม วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวกับองค์ประกอบของการเรียนการสอนจำนวน 158 เรื่อง มี 22 ลักษณะจาก 28 ลักษณะที่มีนัยสำคัญโดยรวม วิทยานิพนธ์ที่เกี่ยวกับลักษณะของผู้เรียนจำนวน 62 เรื่อง มี 10 ลักษณะจาก 12 ลักษณะที่มีนัยสำคัญโดยรวม 3.ผลการวิเคราะห์ขนาดของผล พบว่าตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมากที่สุดคือ ลักษณะของผู้เรียน วิธีสอน และองค์ประกอบของการเรียนการสอน ตามลำดับ

คำสำคัญ : การเรียนการสอน, การวิเคราะห์เมตต้า, การสังเคราะห์ปริมาณ, วิทยานิพนธ์

Abstract
This research synthesized 162 graduate theses relating to instruction, submitted to the Faculty of Education, Prince of Songkla University during 1984-1998 academic years. The study covered general characteristics of the theses and their quantitative syntheses; the ovte-counting method was used to determine the overall significance, and the meta analysis was used to determine the effect size. The research tools consisted of a research evaluation form and research-result summary form. Percentages and Glass’s effect size formula were uses in data analysis. It was found that: 1.In the 1997 academic year a large number of theses pertaining to instruction appeared. The research design mist frequently used was that of experimental research. Thai was the subject most frequently selected for research. Elementary school students from various schools in the South under the National Office of elementary Education were most often selected as population and samples. Most researched employed the multi-stage sampling technique. To determine the qualities of research tools, content validity and KR-20 reliability were most often used, and ANOVA was most frequently applied in data analysis. 2.Ten out of 12 teaching methods from 88 theses had the overall significance; 22 out of 28 features from 158 these on teaching-learning components had the overall significance; and 10 out of 12 students’ characteristics from 62 theses had the overall significance. 3.An analysis of the effect size revealed that the independent variables most effective on academic achievement were students’ characteristics, teaching method, and teaching-learning components, respectively.

Keywords : instruction, meta analysis, quantitative synthesis, theses


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548