Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 13, No. 2 (2007) open journal systems 


การศึกษาสถานการณ์ด้านปัจจัยแวดล้อมธุรกิจ: ปัจจัยสนับสนุนและปัญหาอุปสรรคของเครือข่ายพันธมิตรอุตสาหกรรมเซรามิกลำปาง
Business Environmental Situation: Supporting Factors and Hindrances of Lampang Ceramic Industrial Cluster Network


อมรทิพย์ วงศ์กัลยานุช
Amornthip Wonkanlayanush, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


Abstract
This research aims to study business environmental situation, supporting factors and hindrances of Lampang ceramic industrial cluster network. The samples are collected from 12 entrepreneurs, 3 executives and 5 government officers and private officers related to Lampang ceramic industrial cluster network. The data-collection was analyzed using Diamond model. The results indicated that Lampang Ceramic Association was the main cluster consisted of six sub clusters. The entrepreneurs network relations, dexterous labors, and cooperation among government sectors, private sectors and entrepreneurs were positive factors that encourage the competitiveness of Lampang ceramic industrial cluster network. The reliance on raw materials from other provinces and from abroad, lack of designers and lack of research and development were negative factors that discouraged the competitiveness of Lampang ceramic industrial cluster network. The recommendations of this study are further development needs for brand creation and R&D budgets for Lampang ceramic industrial developing center. Moreover, changing attitudes of entrepreneurs towards the understandings of the importance of sub clusters among entrepreneurs should be considered as well.

Keywords: business environmental situation, ceramic, industrial cluster network, Lampang

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านปัจจัยแวดล้อมทางธุรกิจ ปัจจัยสนับสนุนและปัญหาอุปสรรค ที่มีต่อการดำเนินงานและการพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรอุตสาหกรรมเซรามิกลำปาง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ประกอบการ 12 ราย ผู้บริหารสมาคม/คณะทำงาน 3 ราย และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ/ภาคเอกชน 5 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำบนพื้นฐานของกรอบแบบจำลองเพชร ผลการวิจัยพบว่าสมาคมเครื่องปั้นดินเผาลำปางเป็นเครือข่ายพันธมิตรใหญ่ประกอบด้วยเครือข่ายพันธมิตรย่อย 6 เครือข่าย การที่ผู้ประกอบการมีการเชื่อมโยงกันในรูปเครือข่าย การมีแรงงานที่มีฝีมือประณีต และ การที่หน่วยงานภาครัฐ/ภาคเอกชนและผู้ประกอบการมีการร่วมมือกัน เป็นปัจจัยที่มีผลทางบวกต่อความสามารถในการแข่งขันของเครือข่าย ในขณะที่การต้องพึ่งพาวัตถุดิบจากที่อื่น การขาดแคลนบุคลากรด้านการออกแบบ และ การไม่มีการวิจัยและพัฒนาเป็นปัจจัยที่มีผลทางลบต่อความสามารถในการแข่งขันของเครือข่าย ข้อเสนอแนะของการวิจัยครั้งนี้คือควรมีการสนับสนุนการสร้างเครื่องหมายการค้าอย่างจริงจังและเพิ่มการสนับสนุนงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาให้แก่ศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบดินเผาจังหวัดลำปาง นอกจากนี้ ต้องพยายามที่จะปรับทัศนคติของผู้ประกอบการให้เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ที่จะได้จากการร่วมมือกันในรูปเครือข่าย

คำสำคัญ: เครือข่ายพันธมิตรอุตสาหกรรม, เซรามิก, ลำปาง, สถานการณ์ด้านปัจจัยแวดล้อมธุรกิจ


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548