Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 13, No. 1 (2007) open journal systems 


ปัจจัยที่ทำให้ยอมรับสินค้าที่มีชื่อตราเป็นภาษาไทย:กรณีศึกษาผู้บริโภคในกรุงเทพ และปริมณฑล
Factors Affecting Customers’ Acceptance for Products with Thai-Language Branding: A Case Study of Customers in Bangkok and Surrounding Areas.


ศศิวิมล สุขบท, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Sasiwemon Sukhabot, Prince of Songkla University


Abstract
Abstract The objective of this research was to study the factors affecting customer acceptance of Thai language branding of products in five categories: ready-made clothes, processed foods, electronic appliances and products, herbal products and jewelry. Random sampling of 1,500 Thai nationals from Bangkok and surrounding areas was conducted. Factor analysis and descriptive statistics were used to analyse the data. Factors found to affect customer acceptance of Thai-language branding included the product itself, its promotion, its price and placement, production technology, its Thai appearance, the quality of the product, the brandžs reputation and Thai nationalism. Electronic appliances with Thai-language branding were found to have the highest level of acceptance, with 68.44 percent of the sample approving of the branding. The level of satisfaction with electronic appliances and products was, however, neutral. 66.26 percent of the sample found Thai-language branded Herbal products acceptable, with high product satisfaction. Thai-language branded jewelry had a slightly lower acceptance level, 60.67 percent, but a similarly high level of product satisfaction. Thai-language branding of processed foods was acceptable to 56.18 percent of the sample, with a similarly high level of product satisfaction. For ready-made clothes, the level of product acceptance was 56.13 percent, with a high level of product satisfaction.

Keywords: customers, factors affecting products, product, Thai wording brands

บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ ศึกษาปัจจัยที่ทำให้คนไทยยอมรับสินค้าที่มีชื่อตราเป็นภาษาไทย ของสินค้า 5 ประเภท ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์อาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และเครื่องประดับ สุ่มตัวอย่าง แบบงˆาย จากผู้บริโภคในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 1,500 คน สถิติที่ใช้คือ การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) เพื่อกำหนดจำนวนองค์ประกอบที่เหมาะสมอันเป็นปัจจัยกำหนดการยอมรับสินค้าที่มีชื่อตราเป็นภาษาไทยของสินค้าทั้ง 5 ชนิด และสถิติเชิงพรรณนา เพื่อวัดระดับการยอมรับสินค้าดังกล่าว ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคยอมรับสินค้าที่มีชื่อตราเป็นภาษาไทย ได้แก่ ตัวสินค้า การส่งเสริมการตลาด ราคาและสถานที่จำหน่าย เทคโนโลยีในการผลิต สภาพความเป็นไทย คุณภาพและชื่อเสียง และค่านิยมสังคมไทย ผลการศึกษาแสดงโดยระดับการยอมรับและระดับความพอใจสินค้า เสื้อผ้าสำเร็จรูป ระดับการยอมรับสินค้าร้อยละ 56.13 ระดับความพอใจสินค้าสูง ผลิตภัณฑ์อาหาร ระดับการยอมรับสินค้าร้อยละ 56.18 และระดับความพอใจสินค้าสูง เครื่องใช้ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์มีระดับการยอมรับสินค้าร้อยละ 68.44 และระดับความพอใจสินค้าปานกลาง ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีระดับการยอมรับสินค้าร้อยละ 66.26 และระดับความพอใจสินค้าสูง สินค้าประเภทสุดท้ายคือ ผลิตภัณฑ์เครื่องประดับ มีระดับการยอมรับสินค้าร้อยละ 60.67 และระดับความพอใจสินค้าสูง

คำสำคัญ: ชื่อตราภาษาไทย, ปัจจัยที่ทำให้ยอมรับสินค้า, ลูกค้า, สินค้า


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548