Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 12, No. 4 (2006) open journal systems 


ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดภาคใต้ตอนล่างเพื่อการพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
Public and Private Cooperation in Labor Development of Southern Provinces for AFTA Development


ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ สมเกียรติ พ่วงรอด
และ อ้อมใจ วงษ์มณฑา
Choomsak Intarak
Somkiat Phuangrod, and Omjai Wongmontha


Abstract
The purposes of this research were intended to study the levels and types of the cooperations between public and private sectors in labor development of five southern border provinces for AFTA development, planning, performing, monitoring and evaluating and adapting. It was also studied on their knowledges and skills in six areas for AFTA; commerce, communication, industry for information technology, general industry, specific industry and goods transportation. It was included gathering the suggestions for labor development. The samples in the study were the administrators in public institutions and private organizations, business, associations in five southern border provinces. The total 82 samples were answered the questionnaire and 20 experts were interviewed. The data was analyzed and discussed in seminar. The results were: 1. The cooperation between public and private sectors in labor development for serving AFTA in planning, performing, monitoring and evaluating and adapting were mostly in consultant participation level. There were some private sectors in performing participation level. There were very few in the other types ; decision-participation level and utilizing participation level. 2. The opinions on relating to labor development in the present time, in Pattani, Yala, Narathiwas, Songkhla and Satul, were mostly the labors in commerce, communications, industry for information technology, general industry and specific industry were in high level. The goods transportation was moderate level. Their knowledge and skills were also in moderate level. These skilled labors were enhanced to serve the AFTA development in rather low moderate level. 3. The strategy for cooperation between public and private sectors in labor development, the public sector should make the policy by meeting with the private sectors in the province or the region. There should be public consultant, decision participation, performing participation and utilizing products for industry development and increasing of product capacity by increasing labor development.

Keywords: ASEAN Free Trade Area (AFTA) Development, labor development, public and private cooperation

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและลักษณะความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงานของห้าจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง เพื่อการพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียนในด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการตรวจสอบและประเมินผล ด้านการปรับปรุงพัฒนาและศึกษาความรู้ความสามารถ ทักษะการปฏิบัติงานของแรงงานใน 6 สาขา ได้แก่ การพาณิชยกรรม การสื่อสารโทรคมนาคม การอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ อุตสาหกรรมทั่วไป อุตสาหกรรมตามข้อกำหนด และการขนส่งสินค้า รวมทั้งศึกษาแนวทางในการพัฒนาฝีมือแรงงานระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวกับการผลิตฝีมือแรงงานและบริษัท ห้างร้าน สมาคมที่ประกอบกิจกรรมธุรกิจในห้าจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมทั้งสิ้น 82 หน่วยงาน การดำเนินการวิจัยใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและการสัมมนากลุ่มย่อย (Focus Group) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อการพัฒนาเขตการค้าเสรีอาเซียน ในด้านการวางแผน ด้านการปฏิบัติ ด้านการตรวจสอบและประเมินผล ด้านการปรับปรุงพัฒนามีลักษณะอยู่ในระดับร่วมปรึกษาหารือเป็นส่วนมาก รองลงมาจะมีลักษณะร่วมดำเนินการ ส่วนลักษณะร่วมตัดสินใจ และลักษณะร่วมใช้ผลิตผลอยู่ในระดับน้อยมาก 2. ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับฝีมือแรงงานที่ได้รับการพัฒนาที่มีอยู่ในภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา และสตูล เป็นฝีมือแรงงานด้านพาณิชยกรรม ด้านการสื่อสารโทรคมนาคม ด้านอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านอุตสาหกรรมทั่วไป และอุตสาหกรรมตามข้อกำหนดมีความพอเพียงอยู่ในระดับมาก ส่วนแรงงานด้านการขนส่งสินค้าอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับความรู้ความสามารถและทักษะในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง 3. แนวทางความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนต่อการพัฒนาฝีมือแรงงาน สรุปได้ว่า ภาครัฐควรมีการประชุมกำหนดนโยบายร่วมกันกับภาคเอกชนเพื่อสร้างความเชื่อมั่นทางระบบเศรษฐกิจ และภาคเอกชนควรร่วมมือในการให้คำปรึกษาหารือ ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ และร่วมใช้ผลผลิตให้สามารถพัฒนาอุตสาหกรรมและขีดความสามารถในการผลิตโดยการพัฒนาฝีมือแรงงานให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น

คำสำคัญ : การพัฒนาฝีมือแรงงาน เขตการค้าเสรีอาเซียน ความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548