Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 12, No. 4 (2006) open journal systems 


การตลาดผักปลอดภัยจากสารพิษ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและแนวทางการพัฒนา
The Marketing of Pesticides - Safe Vegetables in Surat Thani Province and a Guideline for Development


สุทธิจิตต์ เชิงทอง และ สมบูรณ์ เจริญ จิระตระกูล

Suthijit Choengthong and Somboon Charernjiratragul.


Abstract


This research aimed to analyze the market for pesticide-safe vegetables in Surat Thani and recommend strategies to develop the market.�Data was collected through: 1) A survey on marketing situations and marketing costs 2) A workshop on problems and constraints of producing and marketing�pesticide-safe vegetables in Surat Thani 3) A survey of specialistsž opinions to identify specific problems in order of importance.�Descriptive analysis, marketing costs and margins analysis and strategic plan analysis methods were used in this research. The results revealed that most pesticide safe vegetables commercialized in Surat Thani were not grown in Surat Thani, but shipped-in and marketed through supermarkets. More than 98% of local pesticide-safe vegetables were sold to local traders and received the same low price as ordinary vegetables. Marketing margins accounted for 54% of the consumer price.�The physical and weight losses were the biggest part of the marketing cost. Only some vegetables (2%) could be sold as pesticide-safe vegetables through local farmers groups, thus commanding higher prices. Using this type of marketing channel, the marketing margins would be reduced to 40%.�The non-existence of distinct market places for pesticide-safe vegetables and inconsistent production quantities were the two major problems found.�Increasing farmersž opportunities to market vegetables as pesticide-safe products by having specific market for pesticide-safe vegetables would be a significant factor to the development of commercial pesticide-safe vegetables in Surat Thani and would significantly increase the incentive for the farmers to continue producing them.

Keywords: business environment, marketing channels, marketing costs, pesticide-safe vegetables, strategic factor, Suratthani province

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ตลาดผักปลอดภัยจากสารพิษ จังหวัดสุราษฎร์ธานี และเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาตลาดผักปลอดภัยจากสารพิษ โดยเก็บข้อมูลจาก 1) การสำรวจข้อมูลสถานการณ์การตลาดและต้นทุนการตลาด 2) การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรวบรวมปัญหาและอุปสรรคของธุรกิจผักปลอดภัยจากสารพิษจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) การสำรวจความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อกำหนดความสำคัญของปัญหา ข้อมูลที่ได้ถูกวิเคราะห์โดยใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนา การวิเคราะห์ต้นทุนการตลาด และการวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า ผักปลอดภัยจากสารพิษที่จำหน่ายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่วนใหญ่เป็นผักที่ผลิตจากแหล่งอื่น ส่วนผักปลอดภัยจากสารพิษที่เกษตรกรจังหวัดสุราษฎร์ธานีปลูกได้เอง มากกว่าร้อยละ 98 จะถูกขายผ่านพ่อค้าคนกลางในท้องถิ่น ในรูปของผักทั่วไป ทำให้ได้รับราคาที่ค่อนข้างต่ำเท่ากับผักทั่วไป และราคาจะไม่แน่นอน มีส่วนเหลื่อมการตลาดคิดเป็นร้อยละ 54 ของราคาที่ผู้บริโภคจ่าย โดยค่าใช้จ่ายด้านความเสียหายของผักเป็นต้นทุนการตลาดหลัก ส่วนที่เหลือร้อยละ 2 จะเป็นการขายในลักษณะผักปลอดภัยจากสารพิษ ที่ผ่านการดำเนินการของกลุ่มเกษตรกร ซึ่งสามารถกำหนดราคาขายได้ จะมีค่าใช้จ่ายด้านส่วนเหลื่อมการตลาดลดลงเหลือเพียงร้อยละ 40 โดยมีอุปสรรคที่สำคัญคือ การไม่มีตลาดรับซื้อผักปลอดภัยจากสารพิษที่ชัดเจนและปริมาณผลผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง แนวทางหลักในการพัฒนาตลาดผักปลอดภัยจากสารพิษควรมุ่งที่การ ส่งเสริมให้เกษตรกรได้มีโอกาสขายผักที่ผลิตได้ในรูปของผักปลอดภัยจากสารพิษ โดยจัดหาช่องทางการจำหน่ายที่ชัดเจน เพื่อให้เกษตรกรเกิดแรงจูงใจในการผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษอย่างต่อเนื่อง

คำสำคัญ: จังหวัดสุราษฎร์ธานี ต้นทุนการตลาด ปัจจัยเชิงกลยุทธ์ ผักปลอดภัยจากสารพิษ วิถีการตลาด สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548