Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 12, No. 3 (2006) open journal systems 


การรับรู้ของครูและนักเรียนเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนพันธุศาสตร์ ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนสังกัดกองการศึกษาสงเคราะห์ในประเทศไทย
Teachers's and Students' Perception about Genetics Teaching and Learning in Disadvantaged Thai High Schools


ทัศนียา รัตนฤาทัย, นฤมล ยุตาคม, คณะศึกษาศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์

Thasaneeya Ratanaroutai, Naruemon Yutakom


Abstract
The purposes of this research were to study teachers'and students' perception about genetics teaching and learning in disadvantaged Thai high schools in academic year of 2004 in respect to 1) difficult genetic concepts for understanding or teaching and learning 2) teaching and learning methods 3) instructional materials 4) assessment and 5) problems and solving problems. Thirteen biology teachers and 120 science program students from 12 disadvantaged schools were selected to answer questionnaires the data analyzed by using percentage and content analysis. The results of this research showed that most teachers thought most genetic concepts for students' understanding were moderate difficult, but students thought they were difficult. Data teachers and students perceived was the difficulties of concepts 56.3%. Genetics teaching and learning methods are explanation of teachers and discussion among students and teacher. Instructional materials are information sheets, diagram and worksheets. Assessments are tests and exercises. Problems in genetics teaching and learning were from teachers' knowledge; students' knowledge and intention; difficulties and quantity of genetics content; and out-of-date and non-understandable instructional materials. These problems showed the necessity of developing genetics teaching and learning methods suitable for disadvantaged Thai high school students in welfare schools.

Keywords: learning, genetic concepts, disadvantaged school, genetic teaching, students perception, teachers perception

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ของครูผู้สอนพันธุศาสตร์และนักเรียน เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนพันธุศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ในประเทศไทย ในปีการศึกษา 2547 ในด้าน 1) แนวคิดทางพันธุศาสตร์ที่ยากต่อการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนเข้าใจและยากต่อการเข้าใจของนักเรียน 2) วิธีการจัดการเรียนการสอนพันธุศาสตร์ 3) สื่อการสอนและอุปกรณ์ 4) การวัดและประเมินผล 5) ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา กลุ่มที่ศึกษาคือครูผู้สอนพันธุศาสตร์ 13 คน และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ 120 คน สังกัดกระทรวงศึกษาธิการในประเทศไทย จำนวน 12 โรงเรียน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสอบถามฉบับครู และฉบับนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การคำนวณทางสถิติในการหาค่าเป็นร้อยละและใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูส่วนใหญ่คิดว่าแนวคิดพันธุศาสตร์โดยรวมมีความยากปานกลางสำหรับนักเรียน แต่นักเรียนคิดว่ายากต่อการเข้าใจ เมื่อพิจารณาแต่ละแนวคิดพบว่าครูและนักเรียนคิดตรงกันเกี่ยวกับระดับความยาก คิดเป็นร้อยละ 56.3 ครูและนักเรียนส่วนใหญ่คิดว่าแต่ละแนวคิดยากปานกลางถึงยาก 2) วิธีการจัดการเรียนการสอนพันธุศาสตร์ส่วนใหญ่ครูใช้วิธีการบรรยาย และนักเรียนกับครูร่วมกันอภิปรายในชั้นเรียน 3) สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอน คือ ใบความรู้ แผนภาพ และใบงาน 4) การวัดและประเมินผล ครูใช้แบบทดสอบและแบบฝึกหัดเป็นส่วนใหญ่ 5) ปัญหาที่พบในการเรียนการสอนมาจากความรู้ด้านเนื้อหาของครู ความรู้พื้นฐานและความสนใจเรียนของนักเรียน เนื้อหาพันธุศาสตร์ที่ยากและมาก สื่อ การสอนที่มีไม่ช่วยให้นักเรียนเข้าใจและไม่ทันสมัย การแก้ปัญหาได้แก่ ครูพัฒนาสื่อการสอนด้วยตนเอง นักเรียนหาความรู้โดยการอ่านหนังสือ ถามเพื่อน หรือถามครู จากปัญหาดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางในการจัดการเรียนการสอนพันธุศาสตร์ที่เหมาะสมกับนักเรียนในโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ต่อไป

คำสำคัญ: การจัดการเรียนการสอนพันธุศาสตร์ การรับรู้ของครู การรับรู้ของนักเรียน โรงเรียนสังกัดกองการศึกษาสงเคราะห์ แนวคิดพันธุศาสตร์


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548