Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 12, No. 2 (2006) open journal systems 


ลวดลายตกแต่งหน้าอาคารชิโน-ปอร์ตุกีสในจังหวัดภูเก็ต
Decorative Ornament on Facade of Sino - Portuguese Building in Phuket Province


ปัญญา เทพสิงห์ วุฒิ วัฒนสิน

Panya Tepsing and Woothi Wattanasin


Abstract
The objective of the research was to study the decorative ornaments shown on the facade of Sino-Portugese building in Phuket province as well as their implications and symbolic representations. Data was collected by means of photography, observation, interview, documentary research, and drawing. It was found that the decorative ornaments were created roughly between the late 19th and early 20th century. The ornaments were characterized by a combination of Western arts and Chinese arts. Around the late 19th century, Western styles were influenced by Eclecticism, and illustrated Victorian architectures and decorative arts. Until the early 20th century, these Western styles were influenced by Art Deco style and had a combination of both Victorian and Art Deco styles, which were mostly inherited from the architectural and decorative styles found in Penang. Most of the decorative ornaments were in the forms of ostentatious plants, emphasizing interflow and spiral vines, leaves or flowers. This gave craftsmen freedom to put them artistically in the given space. Decorative ornaments convey different symbolic representations. Most decorative designs represent three Chinese auspicious aspects : fortune, wealth, and longevity. Stucco and wood carving were the two methods used to create the ornaments. To make stucco, lime, sand and brown sugar were mixed. For wood carving, soft woods were used to make the interior ornaments and hard woods were used as frames.

Keywords: Decorative Ornament, Sino-Portuguese, Phuket Province

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลวดลายตกแต่งหน้าอาคารชิโน-ปอร์ตุกีสในจังหวัดภูเก็ต สัญลักษณ์หรือความหมายที่แฝงอยู่ในลวดลาย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการบันทึกภาพ การสังเกต การสัมภาษณ์ การศึกษาจากเอกสารและการเขียนภาพลายเส้น เพื่อประกอบการวิเคราะห์หาผลสรุป ผลการศึกษาพบว่า ลวดลายตกแต่งหน้าอาคารชิโน-ปอร์ตุกีสในจังหวัดภูเก็ตส่วนใหญ่ทำขึ้นในราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 มีลักษณะผสมผสานศิลปะตะวันตกกับศิลปะจีน โดยในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้รับอิทธิพลตะวันตกจากแนวคิดแบบสรรผสาน และมีสถาปัตยกรรมและศิลปะการตกแต่งแบบวิกตอเรียน จนในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ได้รับอิทธิพลตะวันตกจากแบบอาร์ต เดโค (Art Deco) ระยะหลังนี้ยังมีการผสมทั้งสองแบบไว้ด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่ส่งผ่านมาจากปีนัง ลวดลายตกแต่งส่วนใหญ่เป็นลายประเภทพันธุ์พฤกษากึ่งประดิษฐ์ โดยเน้นกิ่งก้านเถาใบที่เลื้อยไหลตวัดไปมา ซึ่งช่วยให้ช่างตกแต่งและจัดสรรลงพื้นที่ว่างได้อย่างอิสระ ความหมายส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งมงคลจีน 3 ด้านคือ ความโชคดี ความมั่งคั่ง และความยั่งยืน วิธีการผลิตลวดลายใช้วิธีปั้นปูนและแกะสลักไม้ การปั้นปูนใช้สูตรผสมปูนขาว ทราย และน้ำตาลแดง ส่วนการแกะสลักใช้ไม้เนื้ออ่อนเป็นพื้นลาย ใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นโครง

คำสำคัญ ลวดลายตกแต่ง, ชิโน-ปอร์ตุกีส, จังหวัดภูเก็ต


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548