Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 12, No. 2 (2006) open journal systems 


การศึกษาความเป็นมาของการตีเหล็กเพื่อการพาณิชย์ของชุมชนน้ำน้อย
A study of the Commercial History of Wrought Iron Forging of Nam Noi Community, Hat Yai District, Songkhla Province


อรทัย สัตยสัณห์สกุล และ สุนันท์ อินทนิล

Orathai Satayasansakul and Sunan Intanin


Abstract
The objective of this research was to study the commercial history of wrought iron forging of Nam Noi Community, factors supporting this folk handicraft production, commercial elements of wrought iron forging in Nam Noi Community and factors causing the decrease of the forging career of the residents in the community. Data were collected by interviewing 83 samples who were relevant residents and experts on wrought iron forging in the community. The findings indicated that wrought iron forging at Nam Noi Community has been made by Chinese migrants for 180 years. The factors supporting this folk handicraft derived from the abundant resources of iron ore in the community, convenient transportation and their uniqueness in forging procedure. Hence, the products with high quality were famous among the consumers. However, there were several factors that resulted in the decrease of the career. The entrepreneurs lacked the management skill. Moreover, there was no development in producing techniques and patterns of the products in response to the market’s needs. Finally, the members were not interested in passing the knowledge and skills to the new generation.

Key word: folk handicraft, Nam Noi Community, wrought iron forging,

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการตีเหล็กในชุมชนน้ำน้อย ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดหัตถกรรมพื้นบ้านการตีเหล็กในชุมชนน้ำน้อย องค์ประกอบด้านการพาณิชย์ของหัตถกรรมการตีเหล็กในชุมชนน้ำน้อย และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการถดถอยของอาชีพการตีเหล็กในชุมชนน้ำน้อย โดยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างโดยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง และผู้ที่มีความรู้เรื่องการตีเหล็กของชุมชนน้ำน้อยจำนวน 83 คน ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนน้ำน้อยมีการตีเหล็กมาประมาณ 180 ปีโดยชาวจีน ปัจจัยที่สนับสนุนให้เกิดหัตถกรรมตีเหล็ก คือ ชุมชนน้ำน้อยมีแร่เหล็กที่อุดมสมบูรณ์ มีการคมนาคมที่สะดวก และมีกรรมวิธีในการตีเหล็กที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทำให้สินค้ามีคุณภาพเป็นที่นิยมของผู้บริโภค ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดการถดถอยของอาชีพตีเหล็ก คือ ผู้ประกอบการขาดความรู้ด้านการบริหารจัดการ ไม่มีการพัฒนากรรมวิธีการผลิต และการปรับเปลี่ยนรูปแบบสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ตลอดจนสมาชิกในชุมชนไม่ได้ให้ความสนใจที่จะสืบทอดอาชีพดังกล่าว

คำสำคัญ : หัตถกรรมพื้นบ้าน, การตีเหล็ก, ชุมชนน้ำน้อย


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548