Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 12, No. 1 (2006) open journal systems 


ความเครียด กลวิธีเผชิญความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลวิธีเผชิญความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัย
Strees, Coping Strategies and Factors Related to Coping Strategies among University Undergraduates


ดวงมณี จงรักษ์
Doungmani Chongrukasa


Abstract
The purpose of this study were to examine stress situations, coping strategies and factors related to coping strategies and to compare proportions of stressor types and coping strategies with respect to gender,class-year and field of study among university undergraduates. The sample were 433 first-forth year Chiangmai university students. The research tool was the Coping Strategy Indicator developed by Amirkhan. Data were analyzed by content analysis, percentage, chi-square testing and univariate analysis of variance. The findings found that the most stressors involved study, followed by events related to friends, family, love, financial and so forth. The coping strategies employed from highest to lowest were moderate problem solving and seeking social supports, avoidance and high problem solving and seeking social supports. Stressor types were found to vary significally with class-year and field of study but not with gender. There were gender differences in employing coping strategies but no differences among class-year, field of study and stressor types. A relationship between stressor types and problem solving strategies was found in stresssors related to study, family and financial. Also, there was a relationship between gender and seeking social support strategies.

Keywords: Coping Strategies, Stressor types, University undergraduates

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ความเครียด กลวิธีเผชิญความเครียดและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกลวิธีเผชิญความเครียดของนักศึกษามหาวิทยาลัยโดยเปรียบเทียบตามเพศ ชั้นปี กลุ่มสาขาวิชาและประเภทความเครียด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 433 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามกลวิธีเผชิญปัญหา(The Coping Strategy Indicator) ของ Amirkhan วิเคราะห์ข้อมูลด้วย การวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติค่าร้อยละ การทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบหลายทาง ผลการวิจัยพบว่าสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดความเครียดมากที่สุดเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียน รองลงมาเป็นเรื่องเกี่ยวกับเพื่อน ครอบครัว ความรัก การเงิน และอื่นๆ วิธีเผชิญความเครียดที่ใช้มากที่สุดคือ การแก้ไขปัญหาโดยตรงปานกลางและมีแหล่งสนับสนุนสังคมปานกลาง รองลงมาคือการเผชิญความเครียดแบบหลีกหนี การแก้ไขปัญหาโดยตรงมากและมีแหล่งสนับสนุนสังคมมากใช้น้อยที่สุด เปรียบเทียบประเภทความเครียดกับชั้นปีและกลุ่มสาขาวิชาพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ไม่พบความแตกต่างกับเพศ การใช้กลวิธีเผชิญความเครียดจำแนกตามเพศพบความแตกต่างแต่ไม่พบความแตกต่างกับชั้นปี กลุ่มสาขาวิชา และประเภทความเครียด ปัจจัยประเภทความเครียดมีความสัมพันธ์กับกลวิธีเผชิญความเครียดแบบแก้ไขปัญหาโดยตรงโดยพบความแตกต่างในความเครียดที่เกี่ยวกับการเรียน ครอบครัวและการเงิน ปัจจัยเพศมีความสัมพันธ์กับกลวิธีเผชิญความเครียดแบบมีแหล่งสนับสนุนทางสังคม

คำสำคัญ: กลวิธีเผชิญความเครียด, นักศึกษามหาวิทยาลัย, ประเภทความเครียด


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548