Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 12, No. 1 (2006) open journal systems 


กระบวนการ PAR เพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ทางด้านสิ่งแวดล้อมศิลปกรรม กรณีศึกษาวัดเกษมรัตน์ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
The Process of PAR for Development of the Learning Source on Cultural Environment : A case Study of Kasemrat Temple, Sapanmaikaen Subdistrict,Chana District, Songkhla Proveince,


จุฑารัตน์ พาพันธ์ เยาวนิจ กิตติธรกุล
และ สนั่น เพ็งเหมือน
Jutharat Papan
Jawanit Kittitornkool and Sanan Pengmuen


Abstract
This article reported the results of the participatory action research (PAR) to develop Wat Kasemrat—an old temple in Chana district of Songkhla province, into a cultural environment learning source for grades 4-6 primary school students. Research participants included 21 teachers at Wat Kasemrat School, villagers and the researcher. It was found that community dynamic and community capital were essential in the development of the learning source. Community cooperation, local people’s faith and confidence in Wat Kasemrat, kindred relationship, school cooperation, and collaborations and supports from government agencies all contributed to the success of the development of the learning source. Factors hindering the development of the learning source included conflicts within the community, lack of determined community leaders, lack of budget, time constraint, and research team members’ occupation with routine jobs that made them unable to fully and continuously participate in the activities. The developed learning source proved useful and was able to increase the students’ cultural environment knowledge.

Key word: PAR, Learning Source, Cultural Environment, Community Participation

บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอผลการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาวัดเกษมรัตน์ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ผู้เข้าร่วมกระบวนการวิจัยประกอบด้วยครูโรงเรียนวัดเกษมรัตน์ ชาวบ้านและนักวิจัย รวม 21 คน ผลการศึกษาพบว่าการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมนั้นต้องอาศัยพลวัตและทุนของชุมชน ปัจจัยที่เอื้อต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ฯ คือ ความร่วมมือจากชุมชน ความศรัทธาต่อวัดเกษมรัตน์ ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติ ความร่วมมือจากโรงเรียน ความร่วมมือและการสนับสนุนจากหน่วยราชการ ส่วนปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ฯ ได้แก่ ความขัดแย้งภายในชุมชน การขาดผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง งบประมาณ เวลา ภารกิจส่วนตัวของสมาชิกทีมวิจัย นอกจากนี้พบว่าแหล่งเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้นเอื้อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมเพิ่มขึ้น

คำสำคัญ : การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, สิ่งแวดล้อมศิลปกรรม, แหล่งเรียนรู้, การมีส่วน ร่วมของชุมชน


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548