Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 11, No. 5 (2005) open journal systems 


วิเคราะห์นวนิยายของวิมล ไทรนิ่มนวล : คนทรงเจ้า และ อมตะ
An Analysis of Wimon Sainimnuan’s Novels: Khonsongchao and Amata


ทำนอง วงศ์พุทธ จรูญ ตันสูงเนิน
และ มนตรี มีเนียม
Thamnong Wongphut, ภาควิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
Jaroon Tunsungnern and Montri Meenium


Abstract
This research aimed to analyze two novels: Khonsongchao and Amata by Wimon Sainimnuan, with reference to writing technique, attitude to life and society, as well as literary value and intellectual value. Following are the findings of the study. In creating these two novels, the author constructed and blended various components together finely and harmoniously, with integrity and congruity. Also, the language used contained literary force. The author demonstrated in the two novels that individuals and social problems resulted from internal natural forces, particularly greed and self adherence, and are also linked to the inability of people in society to resist a culture of thought. In the novel Khonsongchao, the author brought philosophical ideas to bear upon an indepth analysis of how problems originated and might be solved. The author showed that human beings committed acts that made problems for themselves because they gave in to the base natural force within their own minds. As for Amata, it stimulated reader an awareness of merit and inclination toward the good, both so characteristic of human values. The author showed that profound understanding of Buddhist Dhamma principles to the point of practice thereof offered salvation over suffering and transgression, these human’s major problems.

Keywords: literary value, intellectual value, novel

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาวิเคราะห์นวนิยาย 2 เรื่อง คือ คนทรงเจ้า และ อมตะ ของวิมล ไทรนิ่มนวล ในด้านกลวิธีการประพันธ์ ทัศนะต่อชีวิตและสังคม ตลอดจนคุณค่าทางวรรณศิลป์และคุณค่าทางปัญญา ผลการศึกษาปรากฏว่า ในการประพันธ์นวนิยายทั้งสองเรื่องนี้ ผู้แต่งสร้างและประสานองค์ประกอบต่างๆ เข้าด้วยกันอย่างประณีตกลมกลืน มีบูรณภาพและความสอดคล้องทั้งยังใช้ภาษาที่มีพลังทางวรรณศิลป์ ในนวนิยายทั้งสองเรื่องนี้ผู้แต่งได้แสดงให้เห็นว่าปัญหาปัจเจกบุคคลและสังคมนั้น เป็นผลมาจากแรงผลักดันของธรรมชาติภายใน โดยเฉพาะความโลภและการยึดมั่นในตัวตนของมนุษย์ และยังเชื่อมโยงกับความไม่สามารถต่อต้านวัฒนธรรมทางความคิดของคนในสังคม ในเรื่อง คนทรงเจ้า ผู้แต่งนำแนวคิดเชิงปรัชญามาวิเคราะห์สาเหตุ การดำรงอยู่และทางออกของปัญหาได้อย่างลุ่มลึก ผู้แต่งได้แสดงให้เห็นว่ามนุษย์มักกระทำพฤติกรรมที่ก่อปัญหาเพราะพ่ายแพ้ต่ออำนาจของธรรมชาติฝ่ายต่ำภายในจิตใจ ส่วนเรื่อง อมตะ กระตุ้นผู้อ่านให้ตระหนักถึงคุณธรรมและความใฝ่ดีซึ่งเป็นคุณค่าของมนุษย์ ผู้แต่งได้แสดงให้เห็นว่าความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในหลักธรรมจนนำไปสู่การปฏิบัติตามแนวทางของพระพุทธศาสนาเป็นทางรอดที่จะเอาชนะความทุกข์และการเบียดเบียนซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของมนุษย์

คำสำคัญ : การวิเคราะห์นวนิยาย, คุณค่าทางวรรณศิลป์, คุณค่าทางปัญญา


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548