Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 11, No. 4 (2005) open journal systems 


ความสัมพันธ์ระหว่างเชาวน์อารมณ์กับรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศไทย
Relationship between Emotional Intelligence and Conflict Resolution Styles of Secondary School Administrators in Thailand


บัญญัติ ยงย่วน
Banyat Yongyuan


Abstract
The objectives of this research were to study 1) the secondary school administrators’ levels of emotional intelligence (EI) and conflict resolution styles 2) the relationship between emotional intelligence and conflict resolution styles and 3) factors of emotional intelligence effect on collaborative conflict resolution style. The samples were 576 secondary school administrators from 39 provinces in Thailand. The instruments were 1) Emotional Intelligence Inventory which developed under the framework of Boyatzis, Goleman and Rhee 2) Thomas-kilmann Conflict Mode Instrument. Data were analyzed using percentage, mean, standard deviation, correlation and multiple regression. The results were as follows : 1. More than 90 percent of secondary school administrators had EI in all four factors and total EI at moderately high level and high level. 2. Conflict resolution styles which secondary school administrators mostly selected were compromising, collaborating, avoiding, accommodating and competing respectively. 3. All four factors of EI and total EI were related positively to collaborative conflict resolution style and three factors of EI and total EI were related negatively to competitive conflict resolution style at .001 level of significance. 4.Emotional intelligence in social awareness factor effects on collaborative conflict resolution style at .01 level of significance.

Keywords: Conflict resolution styles, Emotional intelligence, Secondary school administrators.

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาระดับเชาวน์อารมณ์และรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเชาวน์อารมณ์ กับรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 3) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของเชาวน์อารมณ์ ที่ส่งผลต่อรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ใน 39 จังหวัดทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 576 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดเชาวน์อารมณ์ ซึ่งสร้างโดยใช้กรอบแนวคิดของ โบยัสซิส โกลแมน และลี และแบบวัดรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ของโทมัส และคิลแมนน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิเคราะห์ข้อมูล มีดังนี้ 1. ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา มากกว่าร้อยละ 90 มีเชาวน์อารมณ์ในทุกองค์ประกอบ(4 ด้าน) และเชาวน์อารมณ์โดยรวม อยู่ในระดับค่อนข้างสูงและระดับสูง 2. ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ใช้รูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบประนีประนอมมากที่สุด รองลงมาคือ รูปแบบร่วมมือ แบบหลีกเลี่ยง แบบยอมให้ และใช้รูปแบบเอาชนะน้อยที่สุด 3.เชาวน์อารมณ์ในทุกองค์ประกอบ และเชาวน์อารมณ์โดยรวม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบร่วมมือ และพบว่ามีเชาวน์อารมณ์ใน3 องค์ประกอบ และเชาวน์อารมณ์โดยรวม มีความสัมพันธ์ทางลบกับรูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบเอาชนะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4. องค์ประกอบของเชาวน์อารมณ์ด้านการตระหนักรู้ทางสังคม ส่งผลต่อรูปแบบการ แก้ปัญหาความขัดแย้งแบบร่วมมือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คำสำคัญ: รูปแบบการแก้ปัญหาความขัดแย้ง, เชาวน์อารมณ์ และผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548