Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 11, No. 4 (2005) open journal systems 


ความรู้เรื่องเพศศึกษาและความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดปัตตานี
Sex Education Knowledge and Opinions on Approaches of Sex Education for Upper Scecondary Students in Pattani Province


พรเพ็ญ สุวรรณเดชา, สุนิสา สิริวิพัธน์ และวิมล ภคธีรเธียร
Pornpen Suwandeeha, Sunia Siriwipat andWimon Pakhathirat


Abstract
The purposes of this research were to study sex education knowledge of upper secondary students in Pattani province by comparing the variables of sex, religion, and social states where schools are located and to study opinions on approaches of sex education for students. The research sample was 360 upper secondary students in Pattani province. The instrument was a questionnaire. The data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and t-test. The findings were: 1. Upper secondary students in Pattani province had sex education knowledge at a moderate level. Male students passed the low criteria of sex education knowledge whereas female students did at a moderate level. Buddhist students had sex education knowledge at a moderate level while muslim students passed its low criteria. Students in schools both located within and outside district areas had a moderate level of sex education knowledge. 2. The results of comparing the level of sex education knowledge were: 2.1 Male and female students had different knowledge in sex education at .05 level of significance; the female had a higher range than the male. 2.2 Buddhist students and muslim students had different knowledge in sex education at .001 level of significance; buddhist students had a higher range than muslim students. 2.3 Students in schools both within and outside district areas had no difference of sex education knowledge. 3. Opinions on approaches of sex education were: 3.1 The students considered learning sex education in classroom the best approach. The next perfered approaches were sex education camp and research from books. 3.2. The students wanted most to have knowledge about acceptable sex relationship and safe sex intercourse, followed by information about how to have friends of the opposite sex proper behavior toward them, family planning and birth control.

Keywords : Sex Education,Upper Secondary Students, Pattani Province

บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เรื่องเพศศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดปัตตานี เปรียบเทียบความรู้เรื่องเพศศึกษาของนักเรียน จำแนกตามตัวแปรด้านเพศ ศาสนาและสภาพสังคมที่โรงเรียนตั้งอยู่ รวมทั้งศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่นักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดปัตตานี จำนวน 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบทดสอบความรู้เรื่องเพศศึกษาและความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดปัตตานี มีความรู้เรื่องเพศศึกษาในระดับปานกลาง นักเรียนชายมีความรู้เรื่องเพศศึกษาผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ นักเรียนหญิงมีความรู้เรื่องเพศศึกษาปานกลาง นักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธมีความรู้เรื่องเพศศึกษาปานกลาง นักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลามมีความรู้เรื่องเพศศึกษาผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ นักเรียนที่เรียนทั้งในเขตอำเภอเมืองและนอกเขตอำเภอเมืองมีความรู้เรื่องเพศศึกษาปานกลาง 2. ผลการเปรียบเทียบความรู้เรื่องเพศศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดปัตตานี 2.1 นักเรียนชายและนักเรียนหญิง มีความรู้เรื่องเพศศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยนักเรียนหญิงมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องเพศศึกษาสูงกว่านักเรียนชาย 2.2 นักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธและนักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลาม มีความรู้เรื่องเพศศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001โดยนักเรียนที่นับถือศาสนาพุทธมีค่าเฉลี่ยความรู้เรื่องเพศศึกษาสูงกว่านักเรียนที่นับถือศาสนาอิสลาม 2.3 นักเรียนที่เรียนโรงเรียนในเขตอำเภอเมืองและนอกเขตอำเภอเมืองมีความรู้เรื่องเพศศึกษา ไม่แตกต่างกัน 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดปัตตานี 3.1. นักเรียนเห็นว่าการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนเป็นรูปแบบการให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาแก่นักเรียนได้มากที่สุด รองลงมาคือการเข้าค่ายอบรมความรู้เรื่องเพศศึกษา การศึกษาค้นคว้าจากหนังสือต่าง ๆ 3.2. นักเรียนต้องการได้รับความรู้เกี่ยวกับเพศศึกษาในเรื่องการมีเพศสัมพันธ์และการร่วมเพศอย่างถูกวิธี ถูกหลักและปลอดภัยมากที่สุด รองลงมาคือการคบเพื่อนต่างเพศและการปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมกับเพื่อนต่างเพศ การวางแผนครอบครัวและการคุมกำเนิด

คำสำคัญ : เพศศึกษา,นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, จังหวัดปัตตานี


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548