Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 1, No. 1 (1994) open journal systems 


สรุปรายงานการวิจัย เรื่องการศึกษาเกี่ยวกับแรงจูงใจของการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

สุรเชษฐ์ ชิระมณี, ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 7 ประการ ได้แก่ ศึกษาคุณสมบัติของผู้ที่ เหมาะสมที่จะเป็นอาจารย์ ความคาดหวัง สาเหตุของการลาออก โอนย้าย ปัญหาที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข จุดเด่นและจุดด้อยของมหาวิทยาลัยเมื่อเทียบกับมหาวิทยาลัยอื่น เปรียบเทียบสิ่งจูงใจของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.) วิทยาเขตหาดใหญ่ กับข้าราชการของประเทศอินเดีย วัตถุประสงค์หลักเพื่อต้องการทราบถึงสิ่งจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กลุ่มตัวอย่างที่ทำการศึกษามีทั้งหมด 6 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับคณะ นักธุรกิจในเขตเทศบาลหาดใหญ่ อาจารย์อาวุโสซึ่งเป็นอาจารย์ที่ทำงานอยู่ มอ. หาดใหญ่เป็นระยะเวลา 10 ปี ขึ้นไปของทุกคณะในทั่วไปทั้ง 8 คณะ ใน มอ.หาดใหญ่ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก และนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ขึ้นไปของทุกคณะในมอ. หาดใหญ่ การเลือกตัวอย่างจะใช้วิธีจำแนกกลุ่มตัวอย่างแต่ละกลุ่ม ออกเป็นประเภทต่าง ๆ ตามลักษณะที่แตกต่างกันจากนั้นจะใช้วิธีกำหนดจำนวนตัวอย่างตามสัดส่วน (quota) ในแต่ละประเภท จากแต่ละประเภทจะคัดเลือกตัวอย่างเพื่อสัมภาษณ์เก็บข้อมูล โดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) สำหรับกลุ่มเป้าหมายหลักคือ กลุ่มอาจารย์ทั่วไปได้จำแนกเป็น 2 กลุ่มย่อยคือ กลุ่มสมองไหล ได้แก่ อาจารย์ของคณะแพทยศาสตร์ ทันตกรรมแพทยศาสตร์ เภสัชศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และกลุ่มสมองไม่ไหล ได้แก่ อาจารย์ของคณะวิทยาศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ พยาบาล วิทยาการจัดการ เพื่อให้ทราบถึงสิ่งจูงใจที่มีอิทธิพลต่อการเป็นอาจารย์ในมอ.หาดใหญ่ ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์หลักของการวิจัยนี้ ผู้ศึกษาได้จำแนกกลุ่มอาจารย์ทั่วไปออกเป็นกลุ่มย่อย คือ กลุ่มสมองไหลกับสมองไม่ไหล จากนั้นจึงศึกษาสิ่งจูงใจ (ตัวแปร) ทั้งหมด 49 ตัวแปร โดยแบ่งออกเป็นสิ่งจูงใจที่เกี่ยวกับตัวงาน 29 ตัวแปร และไม่เกี่ยวกับตัวงาน 20 ตัวแปร เมื่อรวบรวมข้อมูลเหล่านี้ได้ครบถ้วนแล้ว จึงวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis Approach) พบว่า สิ่งจูงใจที่เกี่ยวกับตัวงานจะมีอิทธิพลมากกับอาจารย์กลุ่มสมองไหล แต่สิ่งจูงใจที่ไม่เกี่ยวกับตัวงานจะมีอิทธิพลมากกับอาจารย์กลุ่มสมองไม่ไหล เมื่อศึกษาภาพรวมของอาจารย์ทั่วไปทั้งหมดโดยไม่จำแนกออกเป็นกลุ่มสมองไหลกับสมองไม่ไหลพบว่าสิ่งจูงใจที่เกี่ยวกับตัวงานมีอิทธิพลมากต่อกลุ่มอาจารย์ทั่วไป คำสำคัญ : การศึกษา แรงจูงใจ ของอาจารย์ มอ.หาดใหญ่ This study aimed at answering the following seven questions concerning Prince of Songkla University, Haad Yai campus, lecturers : What were (1) the required characteristics of university lecturers, (2) their expectations of their careers, (3) the reasons for their resignations or transfers, (4) the unsolved problems, (5) the advantages/disadvantages of being a lecturer at P.S.U. compared with those at other universities, (6) P.S.U. lecturers’ job motivations in comparison with those of civil servants in India, and most important of all, (7) the work incentives for lecturers at Prince of Songkla University. The study population was categorized into six groups : university executives, faculty executives, businessmen in Haad Yai municipality, senior lecturers (more than ten years of service), other lecturers (less than ten years of service) from eight P.S.U. faculties, and student of the third year or over from all faculties of P.S.U., Haad Yai campus. A two-step procedure was employed to select the six sample groups. First, each group was formed and selected by quota. This was followed by a simple random survey of each sample. This procedure yielded two specific target for study. The first group, which had a high rate of transfer and resignation, was composed of lecturers from the faculties of medicine, dentistry, pharmacy, and engineering, This group was referred to as the “brain drain” group. The second target group was referred to as the “non-brain drain” group, and comprised lecturers from the faculties of science, natural resources, nursing, and management sciences. Forty-nine variables were identified and investigated as motivational factors, twenty-nine of which were related to work incentives. Close examination of those factors was employed in the data analysis. It was found that variables related to work incentives signifacantly influenced the “brain drain” group. Over all, variables related to work incentives played an important role for both groups of P.S.U. lecturers. Keywords : motivational factors. P.S.U., Haad Yai campus


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548