Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 1, No. 1 (1994) open journal systems 


สรุปรายงานการวิจัยประสิทธิภาพด้านความตรงเชิงพยากรณ์ของข้อสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยวิธีรับตรง ปีการศึกษา 2534

ช่อลดา พันธุเสนา, คณะพยาบาลศาสตร์
วงจันทร์ สินประจักษ์ผล, คณะศึกษาศาสตร์
มณีรัตน์ ควรหาเวช, คณะวิทยาการจัดการ
จรี ควรหาเวช, ศูนย์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาถึงประสิทธิภาพของข้อสอบคัดเลือกทุกชุดวิชาด้านความตรงเชิงพยากรณ์ ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 ของนักศึกษาในแต่ละคณะวิชา ซึ่งสอบเข้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยวิธีรับตรง ปีการศึกษา 2534 จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 976 คน ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษาต่อ ตัวพยากรณ์ซึ่งได้แก่ คะแนนรวมทุกรายวิชาและคะแนนแต่ละรายวิชาที่กลุ่มตัวอย่างได้รับเมื่อสอบเข้ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ส่วนตัวแปรตาม (ตัวแปรเกณฑ์) คือคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อันได้แก่ ดัชนีประจำภาคและดัชนีสะสมเฉลี่ยของชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS PC+ วิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณระหว่างคะแนนรวม และคะแนนแต่ละรายวิชากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยผลว่า 1. ข้อสอบคัดเลือกโดยรวมสามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 เฉพาะบางคณะวิชา ได้แก่ คณะวิทยาศาสตร์ (R2 = .33-.53 , p < .01) คณะพยาบาลศาสตร์ (R2 =.54-.64 ,p <.01) คณะวิศวกรรมศาสตร์ (R2 = .32-.60 , p < .01) และวิยาลัยอิสลามศึกษา (R2 = .62-.64 , p<.05) ขณะที่บางคณะวิชาพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้เฉพาะค่าดัชนีสะสมเฉลี่ยของทั้ง 2 ชั้นปี คณะดังกล่าว ได้แก่ คณะเภสัชศาสตร์ (R2 = .49-.64 , p < .01) คณะทรัพยากรธรรมชาติ (R2 = .48-.62 , p < .01) บริหารธุรกิจ (ศิลป์) (R2 = .49-.80 , p < .01) 2.รายวิชาที่เป็นตัวพยากรณ์สำคัญซึ่งพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาได้เกือบทุกคณะวิชาที่มีการสอบรายวิชานั้นได้แก่ วิชาเคมี ภาษาอังกฤษ กข ภาษาอังกฤษ กขค สังคมศึกษา ก และสังคมศึกษา กข ข้อเสนอแนะ จากผลการวิจัยดังกล่าวมหาวิยาลัย ควรได้รับการปรับการถ่วงน้ำหนักในวิชาซึ่งเป็นตัวพยากรณ์ที่มีนัยสำคัญทางสถิติให้มากขึ้น เพื่อจะได้นักศึกษาในสาขาวิชาชีพที่ตรงกับความต้องการ คำสำคัญ : ความตรงเชิงพยากรณ์ ข้อสอบคัดเลือก ข้อสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ข้อสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยโดยวิธีรับตรง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลสัมฤทธิ์ The purpose of this research was to study the effectiveness of 1991 Direct Entrance Examination Test (DEET) in predicting the scholastic achievement of 976 first and second year students at Prince of Songkla Unversety (PSU). The independent variables of this study were the total test scores and subject test scores, while the dependent variables (criterion variables) were the students GPA of their first and second semesters, and their accumulative GPA. The SPSS PC+ computer program was employed to analyse the data and to test the hypothesis using multiple regression analysis. The results were as follow : 1. The total test score can be used to predict the scholastic achievement of the students in both first and second years in the following faculties : Science (R2 = .33-.53 , p < .01), Nursing ( R2 = .54-.64 , p < .01), Engineering (R2 = .32-.60 , p < .01), and Islamic Study (R2 = .62-.64 , p < .05). This finding confirmed the acceptance of research hypothesis. Moreover this total test score could be used to predict to predict the accumulative GPA of both fist and second year students for other faculties, namely, Pharmaceutical Science (R2 = .49-.64 , p < .01), Natural Resources ( R2 = .48-.62 , p < .01) and Management sciences for Business Administration students with Liberal Art background (R2 = .49-.80 , p < .01) 2. The following subject test are significant predictor of scholastic achievement of the students who took them in the 1991 DEET; namely, Chemistry, English I, English II, Social Studies I and Social Studies II. Accordingly, this study recommends that PSU should increase the weight score of the test subjects which were found to be significant predictors in DEET so as to increase the effectiveness of the DEET in selecting potential students to enroll in appropriate faculties with obvious predictable success. Keywords : predictive validity, selection test, entrance examination test, direct entrance examination test, Prince of Songkla University, achievement


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548