Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 2, No. 1 (1996) open journal systems 


นิเวศวิทยามนุษย์และวิวัฒนาการของระบบสังคมเกษตรบริเวณคาบสมุทรสะทิงพระ

สมยศ ทุ่งหว้า, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การศึกษาพลวัตของระบบนิเวศวิทยามนุษย์ อาศัยข้อมูลทุติยภูมิ ประกอบกับการสังเกตสภาพพื้นที่การสัมภาษณ์ประชาชนในท้องถิ่นโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และสัมภาษณ์ครัวเรือนตัวอย่างเพื่อวิเคราะห์ระบบการทำฟาร์ม ทำให้ทราบขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและวิวัฒนาการของระบบสังคมเกษตรในท้องถิ่นซึ่งแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน (1) การทำเกษตรแบบพื้นบ้านผสมผสานกับการปศุสัตว์และการประมง (2) การขยายตัวของเศรษฐกิจแบบตลาดควบคู่ไปกับการขยายพื้นที่การทำนา เริ่มกำกิจกรรมเกี่ยวกับตาลโตนดอย่างจริงจัง และการทำสวนผัก ผลไม้ (3) การเข้าไปสัมพันธ์กับโลกอุตสาหกรรม และวิกฤติของระบบสังคมเกษตรแบบเดิม จากผลการศึกษาจึงได้เสนอแนะแนวทางพัฒนาในพื้นที่คือ (1) ปรับปรุงระบบการปลูกพืชที่เกษตรกรกำลังปฏิบัติอยู่โดยเฉพาะเกี่ยวกับความสามารถในการผลิตซ้ำความอุดมสมบูรณ์ของดิน (2) พัฒนาผลิตภัณฑ์จากตาลโตนด (3) เพิ่มประสิทธิภาพของเตาเคี่ยวน้ำตาลโตนด (4) เพิ่มผลิตภาพของแรงงานในการทำกิจกรรมตาลโตนดโดยเฉพาะการลดเวลาการทำงานที่มีความเสี่ยงมากเช่นการปีนต้นตาล (5) วิจัยหาแนวทางพัฒนาระบบการเกษตรที่เหมาะสมกับเกษตรกรรายย่อย และ (6) หามาตรการในการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยอย่างจริงจังและต่อเนื่อง คำสำคัญ : นิเวศวิทยามนุษย์ ระบบสังคมเกษตร ระบบการทำฟาร์ม วิวัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม ตาลโตนด ข้าว The focus of the study is on the dynamics of human ecological system in Sathing Phra Peninsula of Southern Thailand. The data were collected mainly from secondary sources including semi-structured interviews and household case studies. Household case studies were aimed to analyze the existing farming system in the area. The findings showed that the change in environmental condition of agrarian society could be devided into three stages: (1) traditional farming representing the combination of crop production, animal raising and fishing at subsistent level, (2) expansion of market economy in which more cash-oriented production was evidenced through the expansion of rice growing area and intensification of sugar palm activities as well as fruit and vegetable production and (3) rural-industrial integration with the increase in industrial development followed by the crisis of tradition agrarian system. The following recommendations were made to direct the development of the area (1) increasing of reproducibility of soil fertility to improve the existing cropping systems in the area, (2) improving the quality of sugar palm products, (3) increasing the efficiency of sugar production stove, (4) improvement of labor productivity in palm sugar production through technologies which could reduce working time and risky task of palm climbing and (5) finding out the development strategies which could improve amall-scale farming effectively and continuously. Key Words : human ecology, agrarian system, farming system, socio-economic evolution, sugar palm, rice


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548