Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 2, No. 1 (1996) open journal systems 


ความต้องการในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้

กุสุมา ล่านุ้ย
อัจฉรา สัปปพันธ์, โรงเรียนสาธิต คณะศึกษาศาสตร์
ศุภศิริ หงส์ฤทธิพันธุ์, ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความต้องการในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในเขต 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) ทราบถึงปัญหาและอุปสรรค์ที่มีผลต่อการศึกษาต่อของนักเรียนกลุ่มดังกล่าว 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ กับความต้องการในการศึกษาต่อและการเลือกสายการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 492 คน ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล จำนวน 16 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามเพื่อสำรวจความต้องการในการศึกษาต่อของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในเขต 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 1 ฉบับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SAS (Statistical Analysis System) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1. นักเรียนต้องการศึกษาต่อหลังจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวนร้อยละ 96.75 และไม่ต้องการศึกษาต่อจำนวนร้อยละ 3.25 2. นักเรียนที่ต้องการศึกษาต่อ มีความประสงค์จะศึกษาต่อสายสามัญ และศาสนามากที่สุดคือร้อยละ 54.83 ศึกษาต่อสายสามัญอย่างเดียวร้อยละ 19.75 สายอาชีพร้อยละ 17.23 สายศาสนาอย่างเดียวร้อยละ 7.75 และสายอาชีพระยะสั้นที่สุดร้อยละ 0.42 3. ปัญหาที่นักเรียนคิดว่าจะประสบมากที่สุดในการศึกษาต่อคือ ปัญหาค่าใช้จ่ายในการเรียน ในด้านความต้องการความช่วยเหลือนั้น นักเรียนต้องการความช่วยเหลือในเรื่องข้อมูลการศึกษาต่อมากที่สุด 4. นักเรียนที่ไม่ต้องการศึกษาต่อหลังจากจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต้องการหางานทำและช่วยเหลือผู้ปกครองในการประกอบอาชีพมากที่สุด 5. จากผลของการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปรากฏว่า ความแตกต่างของเพศ ไม่มีผลต่อความต้องการในการศึกษาต่อของนักเรียน แต่มีผลหรือมีความสัมพันธ์กับการเลือกสาขาวิชา ภูมิลำเนาและคะแนนเฉลี่ยสะสมมีความสัมพันธ์กับการเลือกสาขาวิชา รายได้ของผู้ปกครองไม่มีผลต่อการเลือกสาขาวิชา จากผลของการวิจัยดังกล่าว หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรให้ความสนใจในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามให้มากขึ้น และหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายควรให้ความสำคัญในเรื่องการประชาสัมพันธ์ข้อมูลด้านการศึกษาต่อ เพื่อให้นักเรียนกลุ่มนี้มีข้อมูลในการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อเพิ่มเติม คำสำคัญ : ความต้องการในการศึกษาต่อ โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสี่จังหวัดชายแดน ภาคใต้ การศึกษาสายศาสนา การศึกษาสายสามัญ การศึกษาสายอาชีพ The purposes of this research were 1) to survey the need in furthuring education of Mathayomsuksa 3 students in the Islamic religious schools in the four southern border provinces; 2) to find out the problems that will have an effect on this group of students in continuing their study; 3) to study the correlation among variables. The sample under study consisted of 492 Mathayomsuksa 3 students in the Islamic religious schools in the four southern border province, namely Pattani, Yala, Narathivas and Stul. The instruments used in this research were the questionnaire to survey the need in futhuring education of the sample group. The data was summarized by the Statistical Analysis System (SAS). The results are as follow : 1. 96.75% of the student wanted to continue their study after their Mathayomsuksa 3 graduation and 3.25% didn’t want to continue their study. 2. The students wanted to study in the following fields of study : 54.83% in General Education and Islamic Studies; 17.23% in Vocation Education; 7.75% in Islamic Studies only and 0.42% in Short Vocation Training courses. 3. The financial problem was considered to be the most serious problem for their continuation of study. As for the need of help for their study, the majority of the students indicated the education information as the most needed. 4. The students that didn’t want to continue their study after their Mathayomsuksa 3 graduation wanted to get a job and help their parents with their family work. 5. The study on the correlation among variables by using chi-square indicated that : no correlation was found between sex and need in continuing the study but with field of study; place of birth and grade point average have correlation with fields of study; no correlation was found parents’ income and fields of study; no correlation was found between parents’ occupation and the need in furthering education but between the field of study. The research findings suggested that more concern be given to the development of the standard and quality of education in the Islamic Religious Schools, and particularly to the distribution of information concerning further study in upper secondary level so as to encourage the students to make a better choice for their future study. Key Words : need analysis in furthering education, Islamic religious schools, Four southern border provinces, general education, Islamic religious study, vocational education


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548