Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 4, No. 3 (1998) open journal systems 


การส่งเสริมความเข้าใจอันดีของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ : กรณีศึกษาจากการประเมินผลโครงการทักษิณพัฒนา กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 กองทัพภาคที่ 4

สุทธิพงศ์ พรหมไพจิตร, ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
เธียรนันท์ วาณิชย์ศุภวงศ์, ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
ปุณวัฒน์ อุบล, ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยประเมินผลโครงการทักษิณพัฒนาปี พ.ศ.2540 โดยมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อต้องการทราบผลการปฏิบัติงานโครงการทักษิณพัฒนาว่ามีปัจจัยอะไรสามารถส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐกับราษฎรชาวไทยมุสลิม และ (2) เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติงานในพื้นที่ตามแผนปฏิบัติงานของโครงการประจำปี พ.ศ.2540 ซึ่งประกอบด้วย 5 แผนงาน ได้แก่ แผนงานสังคมจิตวิทยา แผนงานช่วยเหลือประชาชน แผนงานเร่งรัดพัฒนาคุณภาพชีวิต แผนงานพิทักษ์ประชาชนและทรัพยากร และแผนงานประชาสัมพันธ์ และได้นำแผนงานทั้ง 5 นี้ไปแปลงเป็นตัวแปรต้นจำนวน 5 ตัว ได้แก่ การให้ความรู้ การให้ความช่วยเหลือ การสร้างความเจริญ การให้ความมั่นใจ และการสร้างทัศนคติที่ดีต่อทางราชการ เพื่อใช้หาความสัมพันธ์กับตัวแปรตามคือ การส่งเสริมความเข้าอันดีของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ชาวไทยมุสลิมซึ่งตั้งบ้านเรือนในพื้นที่ปฏิบัติงานของหน่วยทักษิณพัฒนาประจำปี พ.ศ.2540 ใน 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา 2 หน่วย ปัตตานี 2 หน่วย นราธิวาส 3 หน่วย สตูล 1 หน่วย และสงขลา 1 หน่วย รวม 10 หน่วย ๆ ละ 35 คน แต่ในการศึกษาครั้งนี้ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 353 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง นอกจากนี้เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมี 3 ตอนคือ (1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป (2) แบบสอบถามผลการปฏิบัติงานตามโครงการทักษิณพัฒนา และการส่งเสริมความเข้าใจอันดีของชาวไทยมุสลิม ความรู้สึกไว้วางใจ ความสามัคคีปรองดอง และความหวาดระแวง ซึ่งมี 3 คำตอบคือ มีความรู้สึกเห็นดีด้วยมาก ปานกลาง น้อย และ (3) ข้อคิดเห็นทั่วไป ใช้การคำนวณหาจำนวน ค่าร้อยละ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และค่าความถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ส่วนผลการศึกษาแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ (1) การให้ความรู้ การให้ความช่วยเหลือ และการสร้างความเจริญ มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมความเข้าใจอันดีของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ (2) การให้ความมั่นใจ และการสร้างทัศนคติที่ดีต่อทางราชการไม่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมความเข้าใจอันดีของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แสดงว่าโครงการทักษิณพัฒนาสามารถใช้แผนงานสำหรับการพัฒนาให้เกิดความเข้าใจอันดีที่เป็นรูปธรรมได้ผลชัดเจนในระดับหนึ่งแต่ต้องปรับปรุงแผนงานที่เป็นนามธรรม โดยการให้ความมั่นใจและการสร้างทัศนคติที่ดีต่อทางราชการ และต้องเพิ่มศักยภาพให้มากขึ้นรวมทั้งการทำงานควบคู่กับแผนงานที่เป็นรูปธรรมต่อไปเพื่อให้บังเกิดผลดี ด้วยการพัฒนาทั้งคน ระบบ และบริบทในสังคม ให้ถูกต้องชอบธรรม เกิดความเอื้ออาทรต่อกัน และเกิดความโปร่งใสมากที่สุด ความสำคัญ : โครงการทักษิณพัฒนา, ชาวไทยมุสลิม, จังหวัดชายแดนภาคใต้, กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 กองทัพภาคที่ 4, ความเข้าใจอันดี This evaluation research of the Southern Development Project (SDP) aimed to (1) examine the operation outcomes of SDP whose varibles could promote a better understanding among Thai Muslim residents; and (2) to find which variables were the constraints in implementation of the SDP’s work plans in 1997, notably consisted of 5 work plans : social-psychological plan; assistance to people plan; plan for accelerating quality of life; plan for protection of people and resources, and public relations plan. Then, all the work plans were converted to 5 independent variables respectively as follows : delivering knowledge; giving assistance; establishing growth and modernization; securing confidence, and developing positive attitudes. These causal variables of a better understanding of Thai Muslim residents were investigated. Through a purposive sampling method, Thai Muslim residents under the SDP operations in 1997 ( 2 units in Yala, 4 in Narathiwat, 2 in Pattani, 1 in satun, and 1 in Songkhla, total 10 units) 35 residents in each unit were drawn to answer the 3 part questionnaire : first was general background information; second rating scale questionnaire specifying the SDP outcome and promoting a better understanding among Thai Muslims, and third comments and suggestions. Fortunately, 353 residents participated in this study. The data were computed for frequency, percentage, correlation coefficient, and stepwise multiple regression analysis. As a result this study indicated 2 findings : (1) variables of passing on knowledge, giving help and assistance and building up growth and modernization were found to enhance the promotion of a better understanding among Thai Muslims; (2) nevertheless, securing the confidence and building the good attitude to bureaucrats were not. Finally, it can be said in a nutshell that the SDP could implement the tangible plans to materialize a better understanding among Thai Muslims at good level. But it should make the intangible work plans to increase more potentials, mutually working on the tangible plans toward an effective manner through developing human resource, systematicity, and social contexts for competence, concerns to each other, sustainable development, and transparency. Keywords : Southern Development Project, Thai Muslim, Southern Border Provinces, Internal Security Operations Command 4th Region, 4th Army Area. Enhancing a better understanding


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548