Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 4, No. 3 (1998) open journal systems 


ความต้องการทางด้านการฝึกอบรมวิชาชีพการเกษตรของครูเกษตร

ยุพินพรรณ ศิริวัธนนุกูล, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภูมิหลังของครูเกษตร ระดับประถมศึกษาปีที่ 5-6 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดสงขลา ข้อมูลพื้นฐานของโรงเรียนและปัญหาการสอนวิชาเกษตรในโรงเรียน ความต้องการการฝึกอบรมวิชาชีพการเกษตร และความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของครูเกษตรกับความต้องการการฝึกอบรมวิชาชีพการเกษตร จากผลการศึกษาพบว่า ครูเกษตรร้อยละ 88.3 เป็นเพศชาย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.3) มีอายุอยู่ในช่วง 30-50 ปี ส่วนใหญ่จบระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 76.2) และมีระยะเวลาในการสอนเกษตรอยู่ระหว่าง 1-4 ปี ลักษณะความรู้ด้านการเกษตรที่ได้รับก่อนสอนวิชาชีพเกษตรในโรงเรียนคือเอกสารเผยแพร่ทางการเกษตรที่ได้รับจากสำนักงานเกษตรในท้องที่ เช่น เกษตรตำบล ปศุสัตว์อำเภอ สำนักการสอนเกษตรในชั้นเรียนมาจากคู่มือการสอนวิชาเกษตรของกระทรวงศึกษาธิการ และครูเกษตรส่วนใหญ่ (ร้อยละ 75) เคยไปดูงานเกษตรนอกสถานที่ การศึกษาเกี่ยวกับนักเรียนพบว่า จำนวนักเรียนในแต่ละโรงเรียนที่เรียนวิชาเกษตรในระดับประถมศึกษาปีที่ 5-6 มีจำนวนต่ำกว่า 100 คน ลักษณะของกิจกรรมทางการเกษตรที่ทำมากที่สุดคือ การปลูกผัก การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ การปลูกพืชไร่ การเลี้ยงสัตว์ และการปลูกไม้ผล ปัญหาการสอนวิชาเกษตรในโรงเรียนที่พบคือ ปัญหาเกี่ยวกับการใช้โสตทัศนูปกรณ์ การขาดประสบการณ์ในการจัดเตรียมอุปกรณ์การสอน วิธีการสอน และขาดความเข้าใจในเนื้อหาวิชาเกษตร การประเมินการสอนเกษตรของครูพบว่า มีความสามารถในการสอนอยู่ในระดับปานกลาง และยังคงมีความต้องการปรับปรุงขีดความสามารถในการสอนวิชาเกษตร โดยครูร้อยละ 76.7 มีความต้องการมากในการฝึกอบรมวิชาชีพการเกษตร หัวข้อฝึกอบรมที่ครูเกษตรและโรงเรียนต้องการมากคือ สื่อการสอนเกษตร การขยายพันธุ์พืช วิธีการสอนเกษตรในโรงเรียน จิตวิทยาการสอนเกษตรในโรงเรียน การเพาะเห็ด การเลี้ยงปลา การทำปุ๋ยหมัก และการทำไร่นาสวนผสม การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ภูมิหลังของครูเกษตรกับความต้องการในการฝึกอบรมพบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับความต้องการฝึกอบรมในหัวข้อการขยายพันธุ์พืช และการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลง (P<0.05) อายุของครูเกษตรมีความสัมพันธ์กับความต้องการฝึกอบรมในหัวข้อการเลี้ยงปลา การเลี้ยงผึ้ง การทำไร่นาสวนผสม และการปลูกยางพารา (p<0.05) นอกจากนี้ยังพบว่า ระยะเวลาที่สอนเกษตรในโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับความต้องการฝึกอบรมในหัวข้อการเลี้ยงปลา และการทำไร่นาสวนผสม (p<0.05) ยิ่งกว่านั้นผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอนพบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับความต้องการฝึกอบรมในหัวข้อการขยายพันธุ์พืช และการใช้ปุ๋ย และยาฆ่าแมลง (p>0.05) และอายุมีความสัมพันธ์กับความต้องการฝึกอบรมในหัวข้อการเลี้ยงผึ้ง และการปลูกยางพารา (p<0.05 และ p<0.01) นอกจากนี้ยังพบว่า อายุ และระยะเวลาที่สอนเกษตรมีความสัมพันธ์กับความต้องการฝึกอบรมในหัวข้อการเลี้ยงปลา และการทำไร่นาสวนผสม (p<0.05 และ p<0.01) ข้อเสนอแนะของการวิจัยคือ หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีหน้าที่รับผิดชอบต่อการดำเนินงานจัดฝึอบรมวิชาชีพการเกษตรให้แก่ครูเกษตร ควรมีแผนงานประสานร่วมมือกันในการจัดรูปแบบการถ่ายทอดวิทยาการเกษตรแผนใหม่ที่ครอบคลุมทั้งความรู้และทักษะ ในการจัดการฝึกอบรมควรคำนึงถึงปัจจัยทางด้านเพศ อายุ และระยะเวลาที่สอนเกษตรในโรงเรียน ทั้งนี้ปัจจัยดังกล่าวจะช่วยให้การจัดหลักสูตรการฝึกอบรมด้านการเกษตรให้มีความเหมาะสมกับความต้องการของครูเกษตรมากขึ้น คำสำคัญ : ความต้องการ, การฝึกอบรมทางการเกษตร, ครูเกษตร The objectives of the study are to investigate the general background of Prathom 5 and agriculture teachers in Songkhla Provincial Primary Education Province and the general background of the schools and the problems encountered in school to study agricultural training needs and to find out the relationship between the general background of agriculture teachers and agricultural training needs. Form research findings, it is found that 88.3 percent of the agriculture teachers are male and more than 84.3 percent ranges in age from 30-50 years and 65.5 percent of them finished bachelor degree and have taught agriculture in schools from 1-4 years. In addition, the agricultural documents have received from the Songkhla Provincial Agriculture Office. Tambon agricultural officers, the Amphoe live-stock officers etc., are used as references. While teaching, agricultural text-books prepared by the Ministry of Education are used as a guide. More than 75 percent of agriculture teachers have previously visited farms. Seventy five percent of the Prathom 5 and 6 students who took agricultural course are less than one-hundred. Agricultural activities offered in school include vegetable growing, horticulture (flowers and ornamentals) field-crop, animal raising and fruit crops. Many problems encountered by the teachers are audio-visual aids, lack of experience in preparing teaching materials and teaching methods, as well as lack of understanding of some basic agricultural subjects. Based on the evaluation, most teachers show competence at a middle level and hence improvement in their teaching capacity is needed. The study indicated that 75.5 percent of the teacher require more agricultural training such as audio-visual material, plant propogation, teaching methods, agricultural psychology in school, mushroom culture, compost making integrated farming systems, etc. As for correlation analysis, sex, age and duration of teaching have significantly related with agricultural training needs for the agriculture teachers on various topics such as sex has related with plant propogation, compost making and insecticide (p>0.05). Duration of teaching has related with fish culture and integrated farming systems (p>0.05). In addition, multiple regression analysis revealed that sex, age and duration of teaching in school significantly related an agricultural training needs on various topics such as sex has related to plant propgation, compost making and insecticide (p>0.05), age has related to apiculture and rubber plantation (p>0.01 and p<0.01). Moreover, age and duration of teaching have related to fish culture and integrated farming systems (p<0.05 and p<0.01). Recommendations of this study are public or private sectors responsible for agricultural training of the agriculture teachers should have co-operative plan on setting up appropriate agricultural technology concerning with both knowledges and skills to them. And, three factors, namely, sex, age and duration of teaching should be considered in setting up agricultural training curriculum suitable to the needs of agriculture teachers Keywords : needs, agricultural training, agriculture teacher


Full Text: HTML





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548