Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 4, No. 3 (1998) open journal systems 


คุณภาพบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในทัศนะของผู้จ้างงานหรือผู้บังคับบัญชา

ฉลวย ชีวกิดาการ, สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
เจษฏา โมกขกุล, ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
ชูเกียรติ คุปตานนท์, ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์
สมชาติ จุลิรัชนีกร, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ
นิดา วุฒิวัย, ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณะวิทยาศาสตร์
กันยิกา ชำนิประศาสน์, ภาควิชาศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์และกายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์
วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร, ภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์
อนันต์ จิตร์จำนงค์, สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตปัตตานี
อารีย์ คณาวิวัฒน์ไชย, สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตหาดใหญ่
มาลี หังสพฤกษ์, สำนักงานอธิการบดี วิทยาเขตหาดใหญ่


Abstract
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยประเมินจากผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในทัศนะของผู้จ้างงานหรือผู้บังคับบัญชา และศึกษาคุณลักษณะของบัณฑิตที่ต้องการในทัศนะผู้จ้างงานหรือผู้บังคับบัญชา วิธีการศึกษาเป็นการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์ในเชิงปริมาณเป็นหลัก และใช้ข้อมูลจากการศึกษาเชิงคุณภาพเพื่ออธิบายผลการศึกษาในส่วนที่การศึกษาเชิงปริมาณไม่อาจอธิบายได้ การศึกษาเชิงปริมาณ ใช้วิธีการส่งแบบสอบถามไปยังผู้จ้างงานหรือผู้บังคับของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในหน่วยงานรัฐบาล รัฐวิสาหกิจ และเอกชนรวม 1,520 หน่วยงาน ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมา 477 หน่วยงาน คิดเป็นร้อยละ 31.4 ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้จ้างงานหรือผู้บังคับบัญชาของบัณฑิต โดยเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจำนวน 90 หน่วยงาน ปัจจัยสำคัญที่ใช้ประเมินคุณภาพบัณฑิตมี 14 ปัจจัย เช่น คุณภาพของงานประสิทธิภาพของงาน ความมีมนุษยสัมพันธ์ เป็นต้น และคุณลักษณะของบัณฑิตตามความต้องการของผู้จ้างงานหรือผู้บังคับบัญชามี 15 ข้อ เช่น ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน ความอดทนในการปฏิบัติงาน เป็นต้น คุณภาพบัณฑิตจากการประเมินผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตพบว่า จากการศึกษาเชิงปริมาณ ผู้จ้างงานหรือผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติงานของบัณฑิตอยู่ในระดับดีทั้ง 14 ปัจจัย (คะแนนเฉลี่ย 2.52-3.15 ) ซึ่งปัจจัยที่มีคะแนนการประเมินสูงกว่า 3.00 ได้แก่ ความประพฤติบุคลิกลักษณะ ความมีมนุษยสัมพันธ์ การพัฒนาตนเอง และความอดทนในการปฏิบัติงาน ปัจจัยที่ผู้จ้างงานหรือผู้บังคับบัญชาประเมินมีคะแนนต่ำกว่า 2.80 ได้แก่ คุณภาพของงาน ความสามารถในการบังคับบัญชา ความสามารถในการพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชา และประสิทธิภาพของงาน ในการศึกษาเชิงคุณภาพ พบว่าผู้จ้างงานหรือผู้บังคับบัญชาส่วนใหญ่เห็นด้วยกับปัจจัยที่ผลการประเมินเชิงปริมาณสูงกว่าปัจจัยอื่น ๆ แต่ปัจจัยที่ผลการประเมินเชิงปริมาณต่ำกว่าปัจจัยอื่น ๆ ผู้จ้างงานหรือผู้บังคับบัญชาส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เนื่องจากบัณฑิตส่วนใหญ่สามารถทำงานได้ดี เป็นที่พอใจของผู้จ้างงานหรือผู้บังคับบัญชา คุณลักษณะของบัณฑิตตามความต้องการของผู้จ้างงานหรือผู้บังคับบัญชาทั้ง 15 ข้อ พบว่า ความต้องการในคุณลักษณะบัณฑิตของหน่วยงานเอกชน หน่วยงานรัฐบาล และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจอยู่ในระดับมาก 10 ข้อ ระดับปานกลาง 5 ข้อ โดย 3 ลำดับแรกที่แต่ละหน่วยงานมีความต้องการในระดับมาก ได้แก่ ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน ความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงาน และความขยันอดทนในการปฏิบัติงาน รองลงไปได้แก่ ความรู้ความสามารถในการประยุกต์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ ความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์และแก้ปัญหา ความมีมนุษยสัมพันธ์ ความรู้ความสามารถเฉพาะสาขา ความเชื่อมั่นในตนเอง ความรู้ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ และความเป็นผู้นำ การศึกษาคุณภาพบัณฑิตในทัศนะของผู้จ้างงานหรือผู้บังคับบัญชาในภาพรวม พบว่า บัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีจุดแข็งในเรื่องความรู้ทางด้านวิชาการ ภาษาอังกฤษ และการใช้เทคโนโลยีในสำนักงานดี มีความรับผิดชอบ ขยันอดทน ใฝ่รู้ และบัณฑิตมีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง วางตัวได้เหมาะสม แต่มีจุดอ่อนในเรื่องการประยุกต์ความรู้ให้เกิดประโยชน์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การถ่ายทอดความรู้และทักษะในการพูด ทั้งนี้ได้สรุปคุณภาพบัณฑิตแต่ละคณะเป็นกรณีศึกษาไว้ในรายงานด้วยแล้ว คำสำคัญ : บัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, การประเมินทัศนะของผู้จ้างงาน The objectives of this research are to study the quality of Prince of Songkla University’s (PSU’s) graduates in the employers’ viewpoints and to study desirable characteristics of the graduates in the employer’s opinions. In this research, both quantitative and qualitative studies were carried out, but emphasis was on the quantitative study. Qualitative study were used to supplement the quantitative one and were also employed in the discussion of the results. For quantitative study, 1,520 questionnaires were sent to employers of PSU’s graduates, and 477 of them were returned for a total of 31.4%. For qualitative study, interviewing was used to get more information and explanation and also to clarity the results from the questionnaires. Purposive sampling was used to select 90 employers of PSU’s graduates. Fourteen factors were used to evaluate the quality and performance of PSU’s graduates. The employers were also asked to specify the level of their requirement on a list of 15 desirable characteristics of the graduates. The results of the study can be summarized as follows: From employers’ evaluation, PSU’s graduates received good average in all 14 factors. The highest factors that received an evaluation score of more than 3.00 were personality, human relationship, self development and hard-working attribute. The lowest factors that received an evaluation score of less than 2.80 were work quality. Ability to command, ability to develop subordinates and work efficiency. The results from interviewing employers confirmed with the questionnaires on the highest factors, but disagreed on the lowest factors. The employers interviewed pointed out that most PSU’s graduates’ work efficiency and work quality were satisfactory. Out of 15 items on the desirable characteristics of the graduates, 10 of them were required at high level, and the rest were at medium level. The top 3 characteristics which were required by all 3 types of organizations were responsibilities, enthusiasm and hard-working attribute, followed by ability to apply one’s knowledge, ability to analyse and solve problems, human relationship, academic knowledge, self-confidence, ability to transfer knoledge and leadership. In the employers’ viewpoints, PSU’s graduates possessed strong points in academic knowledge, English language, office automation, responsibility, hard-working attribute, human relationship, self-confidence, and personality. However, they had weakpoints in ability to apply the knowledge, creativity, ability to transfer knowledge and verbal skill. Besides, case studies on the quality of graduates of 9 faculties were also provided. Keywords : PSU’s graduate, evaluation of employers’ viewpoints


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548