Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 4, No. 2 (1998) open journal systems 


จินดามณีกับ (ประวัติ) วรรณคดีอยุธยา

ดวงมน จิตร์จำนงค์, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
บทความนี้มุ่งชี้ว่า จินดามณี เป็นหนังสือที่แสดงความรู้ทางภาษาและแบบแผนของคำประพันธ์เพื่อประโยชน์แก่ผู้เริ่มเรียน จินดามณี ได้แต่งขึ้นในสมัยพระนารายณ์มหาราช (2199-2231) นับเป็นตำราภาษาไทยที่ให้ความรู้เชิงอุปกรณ์กวีนิพนธ์เล่มแรกที่แต่งเป็นลายลักษณ์ ผู้แต่งรวบรวมความรู้ที่แพร่หลายอยู่แล้วในกระบวนการสร้างและรับงานโดยน่าจะได้ถือกันว่าการใช้ความรู้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในการสื่อสารเป็นกิจของผู้ฝึกฝนเองโดยตรง เนื่องจาก จินดามณี แต่งขึ้นในช่วงที่ภาษาไทยมีความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในเรื่องระบบเสียง การแต่ง จินดามณี อาจแสดงว่าผู้แต่งได้ตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดความแตกต่างระหว่างรูปและเสียงของคำ โดยเฉพาะในคำประพันธ์ประเภทโคลงซึ่งเป็นคำประพันธ์ที่บังคับ (เสียง) วรรณยุกต์มาตั้งแต่ประเพณีมุขปาฐะ ผู้แต่ง จินดามณี พยายามรักษารูปของคำประพันธ์ในลายลักษณ์ไว้ โดยยกตัวอย่างคำประพันธ์ก่อนการเปลี่ยนแปลงของภาษาคือ ในสมัยอยุธยาตอนต้น เช่น ลิลิตพระลอ มหาชาติคำหลวง เป็นต้น มาแสดงไว้ แต่ในเชิงปฏิบัติ บทประพันธ์ของอยุธยาในสมัยตั้งแต่ จินดามณี เป็นต้นมาได้แก้ปัญหาดังกล่าวด้วยการใช้เอกโทษ โทโทษ (คือ การใช้รูปวรรณยุกต์เอก โท เพื่อรักษารูปบังคับมากกว่ารักษาเสียงบังคับ) การศึกษา จินดามณี อาจเป็นเครื่องบ่งชี้เวลาในการแต่งบทประพันธ์ของอยุธยาได้ คำสำคัญ : จินดามณี, วรรณคดีอยุธยา, การเปลี่ยนแปลงของเสียง, เอกโทษและโทโทษ This article claims that Chindamani is a textbook that provides knowledge of the Thai language as well as illustrates verse forms, which are beneficent for novices of the art of Thai versifying. Chindamani was written in the reign of King Narai the Great (1656-1688). It is the first written text that equips learners with instrumental knowledge of versification. Its author gathered and categorized the knowledge which was already prevalent in the process of verse production and reception. It is taken for granted that application of such knowledge to achieve communicative success is the task of responsible practitioners. Because Chindamani was written during the time when the Thai language underwent a drastic series of sound changes, it seemed likely that its author may have been aware of these changes which resulted in the discrepancy between written and spoken word forms, especially those found in ‘Klong’, a type of verse with tonal constraints on certain specific syllables. The ‘Klong’ has contained specific tonal constraints ever since its inception as oral literature. The author of Chindamani attempted to preserve the original verse since its inception as oral literature. The author of Chindamani attempted to preserve the original verse forms by citing illustrative verses from literature of the early Ayudhya period, the period before the language underwent sound changes. For example, the verses were taken from Litit Phra Law and Mahachat Khamluang. In practice, to cope with the discrepancy problem, Ayudhya verses composed after the time of Chindamani made use of ‘Ek Thot’ and ‘Tho Thot’ instead; that is, the first tone mark (May Ek) and the second tone mark (May Tho) were used to maintain the constraints on forms rather than the constraints on sounds. A close examination of Chindamani may help us decide the time when Ayudhya literary works were composed. Keywords : Chindamani, the Ayudhya literature, sound changes, ‘Ek Thot’ and ‘Tho Tho’


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548