Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 4, No. 2 (1998) open journal systems 


คำเรียกสีของเงาะป่า (ซาไก)

ธนานันท์ ตรงดี, ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
บทความนี้เป็นการศึกษาคำเรียกสีของชนเผ่าซาไกที่ยังดำรงชีวิตแบบเก็บของป่าล่าสัตว์ อาศัยอยู่ตามป่าเขาทางชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ภาษาของพวกเขาจัดอยู่ในภาษาถิ่นกันซิว สาขาแอสเลียนเหนือ ตระกูลภาษาออสโดรเอเซียติก วัตถุประสงค์คือ การพิสูจน์ว่าการจำแนกประเภทสีในภาษานี้ มีความเกี่ยวพันกับลักษณะการรับรู้สิ่งแวดล้อม และวิถีชีวิตของพวกเขา เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแผ่นสีจำนวน 218 สี จัดเรียงสลับคละกันซึ่งใช้ในการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาซาไกเพศหญิง ผู้เขียนพบว่าภาษาซาไกถิ่นนี้มีคำเรียกสีพื้นฐาน 6 คำ ได้แก่ pE;/t3k ‘สีขาว’ .bEl.t3k ‘สีดำและสีเข้มของสีอื่น’ pE.huN ‘สีแดงสด’ ta.hon ‘สีออกแดง สีชมพู สีส้ม สีม่วงอ่อน’ hEr.?Oi ‘สีเหลืองและสีออกเหลือง’ bEl.?un ‘สีเขียว สีน้ำเงินอ่อน สีฟ้า’ นอกจากนี้ยังพบว่าภาษาซาไกไม่มีคำเรียกสีที่เฉพาะไม่พื้นฐานหรือคำเรียกสีที่เฉพาะเจาะจงไปเลย สิ่งที่น่าสนใจคือ ภาษาซาไกมีคำเรียกสีประเภทแดงอยู่ถึง 2 คำ คือ pE.huN ที่ใช้เรียกสีแดงสด กับ ta.hon ที่ใช้เรียกสีที่ออกแดง หรือมีแดงปน ในบทความนี้ยังได้เสนอขอสันนิษฐานเกี่ยวกับลำดับของวิวัฒนาการคำเรียกสีพื้นฐานในภาษาซาไก และอภิปรายเกี่ยวกับวิธีการสร้างคำเรียกสีของคนซาไกไว้โดยสรุปได้ว่า การสร้างคำเรียกสีในภาษาซาไกมีความเกี่ยวพันอย่างไกล้ชิดกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการรับรู้ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่แวดล้อมพวกเขาอยู่ หลักฐานที่นำมาสนับสนุนข้อสรุปดังกล่าว เป็นข้อมูลทางชาติพันธุ์วรรณนาที่กล่าวถึงลักษณะวิถีชีวิตอันเรียบง่ายและการให้ความสำคัญกับสีแดงเป็นพิเศษในวัฒนธรรมของพวกเขา คำสำคัญ : คำเรียกสี, ซาไก, กันซิว This article deals with color categories of the Sakai, a gathering-hunting tribe in the Southern border of Thailand. Their language is in Kensiu group, Northern Aslian branch of Austroasiatice family, The purpose is to prove that color categorization is associated with a people’s ways of life and perception of the environment around them. Cards of 218 colors were used to elicite color terms from a Sakai female informant. It is found that in Sakai there are only 6 basic color terms, i.e. pEl tau’white’, pEl.t3k ‘black and dark color’ pE.huN ‘bright red’, ta.hon ‘pink, orange, light purple and relative presence of red’ hEr,?Oo Yellow and relative presence of yellow’ and bEl.?un ‘green and light blue’, there is no specific color term. It is interesting to note that there are two of “red” color terms, i.e. pE.huN for bright red and ta.hon for pink, orange,light purple and relative presence of red color. Scale of color evolution and color conceptualization in Sakai are hypothesized. It is concluded that Sakai color categorization are closely related to the ways they live and perceive the environment around them. These conclusions are supported by some ethnographic data describing their simple life and the important rote of the red color in their culture. Keywords : color terms, Sakai, Kensiu


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548