Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 4, No. 1 (1998) open journal systems 


กลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมในธนบุรี

เสาวนีย์ จิตต์หมวด, สถาบันราชภัฏธนบุรี


Abstract
“ธนบุรี” เคยเป็นเมืองหน้าด่าน ในชื่อว่า “บางกอก” อันเป็นชุมชนชาวต่างชาติในสมัยอยุธยา และเคยเป็นราชธานีในสมัยธนบุรี แต่ปัจจุบันธนบุรีคือ พื้นที่ส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานครด้านฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยประวัติศาสตร์อันนับเนื่องแต่สมัยอยุธยา ธนบุรีจึงเป็นที่ตั้งถิ่นฐานของชนหลายกลุ่มชาติพันธุ์ ชาวไทยมุสลิมอันเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่แตกต่างจากพี่น้องชาวไทยในด้านศาสนานั้น นอกจากส่วนหนึ่งจะมีพรรพบุรุษหลากหลายเชื้อชาติ อาทิ เปอร์เซีย อาหรับ ชวา-มลายู จาม-เขมร อินเดีย-ปากีสถาน-บังคลาเทศ จีน แล้ว บรรพบุรุษส่วนหนึ่งก็คือ ชนเชื้อชาติไทยแต่อดีตดั้งเดิม มุสลิมจะตั้งถิ่นฐานด้วยการรวมตัวเป็นชุมชน โดยมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางชองชุมชน มัสยิดจึงเป็นทั้งศูนย์รวมของการประกอบศาสนกิจและภารกิจต่าง ๆ ทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการศึกษา ทุกมัสยิดจะมีอิหม่ามทำหน้าที่เป็นทั้งผู้นำทางศาสกิจและเป็นผู้บริหารชุมชนโดยปริยาย มัสยิดหนึ่งหมายถึงชุมชนหนึ่ง ในปัจจุบันบริเวณฝั่งธนบุรีมีมัสยิดที่จดทะเบียนแล้วจำนวน 20 แห่ง ชุมชนหลายแห่งมีมัสยิดที่มีอายุเกินกว่า 100 ปี เช่น ชุมชนมัสยิดต้นสน กุฎีเจริญพาศน์ กุฏีขาว กุฏีหลวง มัสยิดบ้านสมเด็จ ตึกแดง สวนพลู บางอ้อ บางกอกน้อย ฮารูณ วัดเกาะ ชุมชนเหล่านี้ แบ่งเป็นกลุ่มตามความแตกต่างด้านแนวคิดและการปฏิบัติศาสนกิจได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มสายซีอะห์และกลุ่มสายซุนนะห์ ทั้ง 2 กลุ่มนี้อยู่ร่วมกันอย่างไม่มีปัญหาขัดแย้ง เพราะต่างก็มีวิถีชีวิตในครรลองของวัฒนธรรมอิสลามเป็นสำคัญ บรรพบุรุษของชาวไทยมุสลิมเหล่านี้ต่างก็มีส่วนในการประกอบคุณประโยชน์แก่ชาตินานัปการ ทั้งการบริหารราชการแผ่นดิน การพลีชีพปกห้องประเทศชาติ ตลอดจนการกอบกู้เอกราช จากกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสังคมไทย กลุ่มชาติพันธุ์มุสลิมในธนบุรีก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงนั้น ในทางสังคม กล่าวได้ว่า ชุมชนมุสลิมในธนบุรียังคงรักษาความเป็นชุมชนไว้ได้ ระบบความสัมพันธ์ของคนในชุมชนยังคงมีลักษณะสายสัมพันธ์ที่เหนียวแน่นเฉกเช่นสังคมชนบท ในทางวัฒนธรรม กล่าวได้ว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงในลักษระที่ชาวไทยมุสลิมในธนบุรีกลับไปสู่วิถีชีวิตตามครรลองของวัฒนธรรมอิสลามมากขึ้น แต่ส่วนหนึ่งก็นำไปสู่ปัญหาความขัดแย้งและการถูกเลือกปฏิบัติ อย่างไรก็ตามสิ่งที่ชาวไทยมุสลิมพยายามคงไว้ให้มากที่สุดก็คือ การทำอิสลามเป็นศาสนาประจำตน ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาทั้งตนเองและประเทศชาติ คำสำคัญ : กลุ่มชาติพันธุ์มุสลิม, ธนบุรี Thonburi was a fortified port known during the Ayutthaya period under the name “Bangkok”, a place where foreigners congregated. It became the capital during the Thonburi period. At present, it is only part of the Bangkok metropolis, situated on the left bank of the Chao Praya River. Since the Ayutthaya period, various ethnic groups have settled in Thonburt. Thai Muslims in Thonburt have ancestors of diverse ethnic groups : Persian, Arab, Javanese-Malayu, Chamic-Khmer, Indian-Pakistani-Bangladeshi, Chinese, and Thai. Muslims are settled into a community, with a mosque as its community center. All religious activities and social obligations, particularly those relating to education, are centered around the mosque. Every mosque has an Imam as its religious leader and community administrator. In effect, one mosque means one community. Nowadays there are 20 registered mosques in Thonburi. Many mosques are more than 100 years old. These include Thonson, Kudicharoenphat, Kudikhaw, Ban Somdet, Tuk Daeng, Suan Phlu, Bang Or, Bangkok Noi, Haroon and Wat Ko Mosques. Based on theeir different religious beliefs and practices, Muslims in Thonburi can be classified into 2 groups : Shi’ah and Sunnah. Although they subscribe to different sects of Islam, these two groups of Muslims are confined by the same Islamic culture, and thus co-exist in peace in the society. Their ancestors have contributed greatly to the country by lending service in administration and restoration of the country’s independence. Current changes in Thai society have, to a certain extent, affected the Muslim ethnic group in Thonburi. Socially, it can be claimed that the Muslim communities in Thonburi remain intact; like those in a rural society, close relationships among community members are maintained. Culturally, there are changes among Thai Muslims in Thonburi; many are now returning to the way of life strictly in line with the teachings of Islam. These cultural moves inevitably cause some conflicts and pre-judices against the Muslims; nevertheless, they still adhere to the Islamic faith. Keywords : Muslim ethnic group, Thonburi


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548