Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 4, No. 1 (1998) open journal systems 


ความหลากหลายของโลกมุสลิม : ความเป็นหนึ่งบนพื้นฐานของความแตกต่างทางด้านพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ลักษณะทางชาติพันธุ์ และการปรับตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม

สุเทพ สุนทรเภสัช, ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


Abstract
ประชากรชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศไทยและในประเทศเพื่อนบ้านของเอเซียอาคเนย์ แม้อาจถือได้ว่ามีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพราะต่างก็นับถือศาสนาอิสลาม แต่ถ้าจะพิจารณาสภาพความเป็นจริงทางด้านชาติพันธุ์แบบแผนการปรับตัวทางนิเวศน์วิทยา วิถีการดำรงชีวิต ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีที่เรียกรวม ๆ ว่าวัฒนธรรมแล้วจะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างและหลากหลายเป็นอย่างมาก ความแตกต่างดังกล่าวเป็นผลมาจากกระบวนการทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ 3 ประการคือ (1) การแผ่ขยายของศาสนาอิสลามเข้ามาในภูมิภาคเอเซียอาคเนย์ที่ประชากรส่วนใหย่ต่างมีระบบความเชื่อทางศาสนาเป็นปึกแผ่นมั่นคงอยู่ก่อนแล้วในกระบวนการเผยแผ่และการยอมรับศาสนา ความเชื่อดั้งเดิมและลักษณะเฉพาะของท้องถิ่น จึงถูกผสมผสานเข้าไปในระบบความเชื่อของศาสนาอิสลาม ลักษณะของท้องถิ่นดังกล่าวเป็นตัวเชื่อมโยงหรือสื่อประสานทางสังคม วัฒนธรรม (Sociocultural brokers) ที่มีส่วนช่วยให้ศาสนาอิสลามสามารถดำรงอยู่และพัฒนาไปได้ในสังคมที่มีความหลากหลายทางด้านชาติพันธุ์และลัทธิความเชื่อของภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ (2) การขยายอิทธิพลของชาติมหาอำนาจ โดยเฉพาะสเปน ดัทซ์ อังกฤษ เข้ามาในเอเซียอาคเนย์ เป็นการหยุดยั้งการขยายอาณาเขตของศาสนาอิสลาม ก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านลัทธิอาณานิคมในหมู่ผู้นำท้องถิ่นนำไปสู่ลัทธิชาตินิยม และท้ายที่สุดการเกิดรัฐประชาชาติสมัยใหม่ ซึ่งมีผลต่อการกำหนดฐานะของประชาชาติมุสลิมภายในรัฐประชาชาติที่เกิดขึ้นใหม่ และ (3) การเปลี่ยนแปลงทางนิเวศน์วิทยา โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงไปสู่ลักษณะเมือง (Unbanization) ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่ทำให้ชาวมุสลิมที่เข้าไปตั้งถิ่นฐานต้องมีการปรับตัว กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว ก่อให้เกิดความแตกต่างและหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนชาวมุสลิม ขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นจริง อันเป็นผลมาจากการปรับตัวเพื่อที่จะสามารถดำรงอยู่ได้ในบริบทของพหุสังคมที่พวกเขาเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ การที่จะมีความเข้าใจอย่างแท้จริงต่อพลวัตของสังคมวัฒนธรรมมุสลิม จึงจำเป็นต้องยอมรับและมุ่งเน้นการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะความแตกต่างหลากหลายมากกว่าความเป็นอันหนึ่งเดียว คำสำคัญ : ความหลากหลายของโลกมุสลิม, พื้นฐานพัฒนาการทางประวัติศาสตร์, ความแตกต่างทางชาติพันธุ์, การปรับตัวทางเศษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม Muslims in all parts of Thailand and neighboring Southeast Asian countries. Although can be seen as homogenous by their apparent adherence to Islam, they can be considered heterogeneous in terms of their ethnic origins and patterns of ecological, and socio-cultural adaptations. Such heterogeny has resulted from three major historical processes : (1) the Islamization process in Southeast Asia, where deep-rooled indigenous beliefs and differences had been integrated into the Islamic belief-system, vis-à-vis serving as socio-cultural brokers, enabling Islam to exist and develop within multiethnic and religious Southeast Asian societies; (2) the expansion of the colonial Powers-the Spanish, Dutch and English, into Southeast Asia, putting and end to Islamic territorial progression, and encouraging anticolonal sentiment and movements among local elites, leading to the formation of modern nation-states whereby the status of the Muslim population has been redefined; and (3) the process of urbanization as well as economic and socio-cultural changes, providing new environmental contexts into which ethnic Muslim communities have had to adapt. The above differentiation has reflected the long process of socio-cultural changes and adaptations of Muslim communities in various regions. To be able to really understand the dynamism of such communities, therefore, their heterogeny rather than homogeny should be recognized and emphasized. Keywords : heterogeny of Muslim world, bases of historical development, ethnic differences, economic of socio-cultural adaptations


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548