Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 4, No. 1 (1998) open journal systems 


มุสลิมศึกษา : สังคมศาสตร์ทวนกระแส และ “ความเป็นอื่น”

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์, คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


Abstract
“อิสลามศึกษา” และ “มุสลิมศึกษา” เป็นกิจกรรมทางวิชาการสองชนิดที่แตกต่างกัน ในขณะที่ “อิสลามศึกษา” เป็นการศึกษาอิสลามโดยให้ความสำคัญกับสภาวะศักดิ์สิทธิ์และศรัทธาของชาวมุสลิม “มุสลิมศึกษา” มุ่งศึกษาชาวมุสลิมในบริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ การให้ความสนใจกับ “มุสลิมศึกษา” หมายถึง การให้พื้นที่ทางวิชาการที่สามารถใช้แนวคิดทฤษฎีหรือลู่ทางการวิเคราะห์เชิงวิพากษ์ได้เต็มที่ ดังนั้นวิธีวิทยาที่น่าจะนำมาใช้กับ “มุสลิมศึกษา” ควรอยู่ในแนวทางสังคมศาสตร์ทวนกระแสที่ถือมนุษย์ผู้ถูกศึกษา ซึ่งในที่นี้คือ ชาวมุสลิมเป็นศูนย์กลางของการศึกษา แต่มีคุณลักษณ์วิพากษ์และอาศัยแขนงวิชาต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการศึกษา โดยให้ความสำคัญกับปัญหาทางทฤษฎีที่แฝงอยู่ในการศึกษาผู้คนและสังคมมุสลิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ เผชิญอย่างสร้างสรรค์กับปัญหา “ความเป็นอื่น” ซึ่งจะเกิดขึ้นใน “มุสลิมศึกษา” ไม่ว่าผู้ศึกษาจะเป็นนักวิชาการมุสลิมหรือไม่ก็ตาม คำสำคัญ : มุสลิมศึกษา, อิสลามศึกษา, สังคมศาสตร์ทวนกระแส, ความเป็นอื่น Islamic Studies and Muslim Studies are two different academic enterprises. While the former studies Islam as a religion emphasizing its sacredness and faith among the believers, the latter focuses on the Muslim in social, economic, political, cultural and historical contexts. To explore “Muslim Studies” means to provide academic space that is conducive to critical analysis and innovative theories. As a result, the idea of a “radical social science’ which chooses to reposit humans as the center of study is advanced as a critical methodology appropriate for Muslim Studies, The problem of “Alterity” which will arise in Muslim Studies should be creatively addressed by underscoring the human quality of the object of study. Keywords : Muslim Studies, Islamic Studies, radical social science, otherness


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548