|
การแพร่ระบาดของสารเสพติดในเด็กและเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย
|
วันชัย ธรรมสัจการ, ภาควิชาสารัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิต, ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ นิรันดร์ จุลทรัพย์, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ |
Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การแพร่ระบาดของสารเสพติด โดยศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภูมิหลังของเด็กและเยาชนกับประสบการณ์การเสพสารเสพติด เปรียบเทียบปัจจัยบางประการที่เกี่ยวข้องกับสารเสพติดระหว่างเด็กและเยาวชนจากในและนอกระบบโรงเรียน เด็กและเยาชนที่นับถือศาสนาพุทธและอิสลาม และระหว่างเด็กและเยาวชนที่มีประสบการณ์เคยและไม่เคยลองสารเสพติด ค้นหาปัจจัยที่สามารถอธิบายพฤติกรรมการเสพสารเสพติดของเด็กและเยาวชน และเพื่อทราบสถานการณ์ความรุนแรงของการแพร่ระบาดของสารเสพติดในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ตลอดจนเพื่อทราบสาเหตุ วิธีการแพร่ระบาด แนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของสารเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน
กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้มาจากสุ่มแบบแบ่งชั้น (stratified random sampling) เป็นเด็กและเยาวชนจากในและนอกระบบโรงเรียนจำนวน 965 คน และ 523 คน ตามลำดับ และเป็นกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการบำบัดรักษา และการปราบปรามการแพร่ระบาดของสารเสพติดจำนวน 240 คน ผลการวิจัยพบความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์เคยและไม่เคยลองเสพสารเสพติดกับเพศ อายุ ระดับการศึกษา ลักษณะการพักอาศัยของเด็กและเยาวชน อาชีพของบิดา อาชีพของมารดา ช่วงเวลาของการเกิดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้งในครอบครัว การเคยเห็นเพื่อนสนิทสูบบุหรี่ ดื่มสุรา/เบียร์ สูบกัญชา/ใบกระท่อม สูดดมสารระเหย/กาว กินยาม้า สูงฝิ่น สูงเฮโรอีน และจำนวนเพื่อนสนิทที่เคยเห็นสูบบุหรี่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การเสพสารเสพติดกับตัวแปรอื่นที่สนใจศึกษา
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบพบว่า ประเภทของเด็กและเยาวชนจากในและนอกระบบโรงเรียน มีความแตกต่างกันในด้านบุคลิกภาพชอบท้าทาย ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความมีอิสระจากเพื่อน การรับรู้ความยาก-ง่ายในการหาซื้อสารเสพติดจากชุมชนที่อาศัยอยู่ และการใช้รับข่าวสารเกี่ยวกับสารเสพติดจากสื่อบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างในตัวแปรอื่นที่สนใจศึกษา ผลการเปรียบเทียบระหว่างเด็กและเยาวชนที่นับถือศาสนาพุทธและศาสนาอิสลาม พบว่า มีความแตกต่างกันในด้านเจตคติต่อสารเสพติด ความมีอิสระจากเพื่อน การรับรู้ความยาก-ง่ายในการหาซื้อสารเสพติดจากชุมชนที่อาศัยอยู่ การรับรู้ความยาก-ง่ายในการหาซื้อสารเสพติดจากบริเวณโรงเรียนและแหล่งใกล้เคียง การได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสารเสพติดจากสื่อบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างในตัวแปรอื่นที่สนใจศึกษา ผลการเปรียบเทียบระหว่างเด็กและเยาวชนที่เคยและไม่เคยทดลองเสพสารเสพติด พบว่า มีความแตกต่างกันในด้านบุคลิกภาพชอบท้าทาย เจตคติต่อสารเสพติด ความสัมพันธ์ในครอบครัว การชักชวนให้ทดลองเสพสารเสพติดจากเพื่อน การรับรู้ความยาก-ง่ายในการหาซื้อสารเสพติดจากชุมชนที่อาศัยอยู่ การรับรู้ความยาก-ง่ายในการหาซื้อสารเสพติดจากบริเวณโรงเรียนและแหล่งใกล้เคียง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ไม่พบความแตกต่างในตัวแปรอื่น
ผลการวิจัยถดถอยเชิงพหุ โดยการวิเคราะห์ในกลุ่มรวม และจำแนกตามกลุ่มเด็กและเยาวชนในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน นับถือศาสนาพุทธ และนับถือศาสนาอิสลาม พบผลที่ตรงกันกล่าวคือ การชักชวนให้ทดลองเสพสารเสพติดจากเพื่อน สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการเสพสารเสพติดของเด็กและเยาชนได้อย่างบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เป็นลำดับแรกในทุกกลุ่ม รองลงมาได้แก่ บุคลิกภาพชอบท้าทาย และเจตคติต่อสารเสพติด ซึ่งสลับลำดับที่ในการอธิบายบ้างตามกลุ่มการวิเคราะห์ โดยมีข้อสังเกตว่า การรับรู้ความยาก-ง่ายในการหาซื้อสารเสพติดในชุมชนที่อาศัยอยู่ สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการเสพสารเสพติดเพิ่มขึ้นจากสามตัวแปรดังกล่าวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เฉพาะกลุ่มเด็กและเยาวชนที่นับถือศาสนาอิสลาม
ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องพบว่า ในปัจจุบันการแพร่ระบาดของสารเสพติดรุนแรงกว่าในอดีตที่ผ่านมา และมีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคต โดยมีสาเหตุที่โยงใยสลับซับซ้อนทั้งในระดับสังคม ครอบครัว บุคลิกภาพส่วนตัว และการออกฤทธิ์ของตัวสารเสพติด ด้านวิธีการแพร่ระบาดของสารเสพติดมีหลายวิธี เช่น การใช้เด็กและเยาวชนเป็นผู้จำหน่าย การใช้ความสัมพันธ์เชิงอำนาจบีบบังคับให้จำหน่ายหรือทดลองเสพ เช่น รุ่นพี่ ครู การจัดปาร์ตี้สังสรรค์ การเจือปนกับเครื่องอุปโภคบริโภค รวมถึงการใช้อำนาจรัฐเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมโดยอ้างการเพิ่มรายได้และเสียยภาษีให้รัฐเพื่อทำการผลิตสิ่งเสพติดออกมาจำหน่าย ด้านการป้องกันและแพร่ระบาดของสารเสพติดสามารถทำได้หลายวิธี โดยเริ่มจากสถาบันครอบครัว ผู้ปกครองไม่ทำเป็นตัวอย่างให้เด็กและเยาวชนเห็น การใช้กลไกของสื่ออย่างสร้างสรรค์ ด้านการแก้ไขปัญหาสำหรับเด็กและเยาวชนที่ติดสารเสพติดไปแล้ว และผลกระทบต่อเนื่องจากการที่มีเด็กและเยาชนติดสารเสพติด ควรจะมีการประสานงานกันในทุกระดับ เริ่มจากด้านนโยบาย การวางแผน การปฏิบัติและการประเมินผล ทั้งนี้เพื่อให้แก้ไขปัญหามีประสิทธิภาพสูงสุด
คำสำคัญ : การแพร่ระบาดของสารเสพติด, จังหวัดชายแดน, เยาวชนพุทธและมุสลิม, ความสัมพันธ์ในครอบครัว
This research is intended to investigate the spread of narcotics and drug abuse among the youth in southern border provinces, and the relationship between the youths backgrounds and their drug experiences; to compare factors related to drug use between youths from formal and non-formal education systems, between Buddhist and Muslim youths, and between the youths with and without drug experiences; to determine factors leading to drug addiction such youths; to investigate the extent of drug abuse in the past, at present and in the future, and to find causes of drug, abuse, distribution means as well as its prevention and suppression.
Through stratified random sampling, the samples of this research were 965 youths from the formal education system, 523 from the non-formal education system, and 240 government officers involved in drug abuse prevention and suppression, and drug treatments.
It was found that drug experience correlated with the youths age, sex, education level; fellow household members; parents occupation; experiences with friends who smoke, drink, or experiment with drugs; number of peers who smoked cigarettes, and occurrence of domestic disputes, significantly at the level of .05.
On comparing the youth from formal and non-formal education systems, differences were found with respect to thrill-seeking personality, familial closeness, independence from peers, perceived difficulty in purchasing druge in the community, and exposure to drug information via personal contacts, significantly at the level of .05. No significant differences were among other variables. There were differences between Buddhist and Muslim youths with respect to attitude toward drugs, independence from peers, perceived difficulty in purchasing drugs in the community, perceived difficulty in purchasing drugs at school and in the immediate surroundings, and exposure to drug information via personal contacts, significantly at the level of .05. No significant differences were found among other variables. On comparing the youth with and without drug experiences, differences were found with respect to thrill-seeking personality, attitude toward drugs, familial closeness, peer pressure, perceived difficulty in purchasing drugs in the community, perceived difficulty in purchasing druge at school and in the immediate surroundings, significantly at the level of .05. No significant differences were found among other variables, however.
Stepwise regression analysis revealed that peer pressure to take drugs was the chief factor responsible for the variance of drug abuse among all youth groups, significantly at the level of .01. Other factors included thrill-seeking personality, and attitude toward drugs, although with different ranking of importance in different groups. In addition to the three factors above, perceived difficulty in purchasing drugs in the community was another factor responsible for the variance of drug abuse among Muslim youths, significantly at the level of .05.
Drug prevention personnel expressed their opinions that druge abuse at present is more severe than in the past and seems to be inclined to increase in the future due to the complexity of the society, the family, personality, and drug effects. Drug abuse has spread by various means such as having the youth as pushers, exploitation through seniority (teacher/student, senior/junior students) to force the youth to push or try drugs, throwing a drug party, mixing drugs in consumer products as well as using state authority to justify drug production. Drug prevention and suppression may stem from the family in which parents act as good role models, or it can be done via mass media, state mechanism such as legal measures, and anti-drugs groups or organizations. Responsible personnel at all levels should coordinate to help drug addicts and to cope with other drug consequences.
Keywords : drug abuse, border provinces, Buddhist and Muslim youths, family relation
|
|
|