Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 6, No. 2 (2000) open journal systems 


การสำรวจความต้องการการศึกษาต่อเนื่องของบรรณารักษ์ใน 14 จังหวัดภาคใต้

สิริพันธ์ เดชพลกรัง, ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ฐะปะนีย์ เทพญา, ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผลิวัลย์ รองสวัสดิ์, ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การสำรวจความต้องการและความคิดเห็นต่อการเปิดการศกึษาหลักสูตรต่อเนื่อง รวมทั้งการแสวงหาความรู้เพิ่มเติมในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์เป็นจุดมุ่งหมายในการวิจัยเรื่องนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปพิจารณาการเปิดการศึกษาหลักสูตรต่อเนื่อง (2 ปี) สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ บรรณารักษ์หรือผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด สังกัดหน่วยงานรัฐบาลใน 14 จังหวัดภาคใต้ จำนวน 161 แห่ง โดยการส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 2 ชุด และจำนวนแบบสอบถามที่ได้รับกลับคืนมาทั้ง 2 ชุด คิดเป็นร้อยละดังนี้ จำนวนแบบสอบถามชุดที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 88 จำนวนแบบสอบถามชุดที่ 2 คิดเป็นร้อยละ 77.7 ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามได้นำมาวิเคราะห์หาค่าสถิติพื้นฐานได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 83.8 มีอายุระหว่าง 31-40 ปี คิดเป็นร้อยละ 60 มีวุฒิทางการศึกษาในระดับปริญญาตรีทางด้านบรรณารักษศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 70 มีประสบการณ์ในการทำงานอยู่ในช่วง 11-15 ปี คิดเป็นร้อยละ 33.8 มีตำแหน่งเป็นเจ้าหน้าที่หรือพนักงานห้องสมุดคิดเป็นร้อยละ 55 มีความพึงพอใจในวิชาชีพอยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 48.8 ส่วนใหญ่ไม่เคยศึกษาต่อทางบรรณารักษศาสตร์ในระดับที่สูงกว่าวุฒิการศึกษาเดิม คิดเป็นร้อยละ 86.3 ผู้ปฏิบัติห้องสมุดเข้าร่วมกิจกรรมไม่ว่าจะเป็นการอบรมทางบรรณารักษศาสตร์ระยะสั้นเพื่อรับวุฒิบัตร การวิจัยหรือร่วมทำวิจัยทางวิชาชีพ และการร่วมประชุมสัมมนาทางวิชาชีพ ในระดับปานกลาง 2. ในด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการศึกษาต่อเนื่องและการจัดดำเนินการศึกษาต่อเนื่อง พบว่า ผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย ทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะมีวุฒิทางการศึกษาระดับใด หรือมีประสบการณ์ในการทำงาน และมีตำแหน่งงานในปัจจุบันแตกต่างกันเพียงใด ต่างก็เห็นด้วยในระดับมากที่สุดว่าการศึกษาต่อเนื่องมีความสำคัญต่อการพัฒนาบุคลากรและการศกึษาต่อเนื่องมีผลต่อความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพที่จะช่วยพัฒนาความสามารถเพิ่มขึ้น 3. ในด้านความรู้ที่ต้องการศึกษาเมื่อจำแนกตามเพศ อายุ วุฒิทางการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และตำแหน่งงานในปัจจุบัน พบว่า ผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดมีความต้องการความรู้ด้านการใช้เทคโนโลยีสารนิเทศในการจัดเก็บสารนิเทศและให้บริการสารนิเทศในระดับมากถึงมากที่สุด และความรู้ที่ต้องการศึกษาในระดับแรก ๆ ได้แก่ ความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารนิเทศประเภทต่าง ๆ กับงานห้องสมุด และระบบเครือข่ายห้องสมุด ระบบอัตโนมัติที่ใช้ในงานประเภทต่างๆ สำหรับห้องสมุดและศูนย์สารนิเทศ การบริหารงานห้องสมุด และระบบสารนิเทศเพื่อการจัดการ (MIS) ส่วนความรู้ที่ต้องการศึกษาในระดับปานกลางถึงค่อนข้างน้อยคือ การวิเคราะห์และการจัดหมวดหมู่สารนิเทศระบบห้องสมุดรัฐสภาอเมริกัน ข้อเสนอแนะจากผู้ปฏิบัติงานห้องสมุดคือ ควรมีการจัดอบรมหรือให้การศึกษาด้านบรรณรักษศาสตร์ในหัวข้อที่ผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดมีความต้องการศึกษาเพิ่มเติม ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องกับงานด้านห้องสมุดควรส่งเสริมให้ผู้หฏิบัติงานได้เข้าศึกษาอบรมทางวิชาชีพ เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความรู้อันจะนำไปเป็นประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสถาบันที่สอนวิชาบรรณารักษศาสตร์และสถาบันที่เกี่ยวข้องควรให้ความร่วมมือในการจัดการศึกษาต่อเนื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุดได้ศึกษาเพิ่มพูนความรู้ให้มากขึ้น คำสำคัญ : บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ – การศึกษาต่อเนื่อง, การศึกษาต่อเนื่อง-ไทย(ภาคใต้), บุคลากรห้องสมุด This research aimed to survey the needs of the public and their attitudes toward the offering of refresher courses and a continuing education program in Library and Information Science so that a 2 year continuing education program in Library and Information Science may be set up to meet such needs. The samples under this study were librarians and staff practitioners in 161 libraries under government agencies in 14 provinces of South Thailand. Two sets of questionnaires were mailed to all 161-target libraries. Theturnout of the first set of returned questionnaires was 88 percent and of the second 77.7 percent. Data was analyzed by using percentage, arithmetic mean and standard deviation. The research findings are as follows : 1. The majority or 83.8 percent of the respondents were females, with the age range of 31-40 years accounting for 60 percent. Those with a bachelor degree in library science accounted for 70 percent. With working experience ranging from 11 to 15 year of 33.8 percent and 55 percent of them have held a job position of library officers or library staff. 48.8 percent were satisfied with their job at a high level. The majority of 86.3 percent had no opportunities for further study in library science higher than their bachelor degree. Their taking part in professional activities, be they short course training, research, professional workshops, seminars and conferences was at a moderate level. 2. Concerning opinions on continuing education and its provision, all respondents regardless of their sex, age, education attainment, work experience and job position most strongly agreed that continuing education is essential to staff development and directly affects their academic and professional progress and in turn enhances their own capacity. 3. Regarding the knowledge and field of study classified by sex, age, education attainment, work experience and current job position, it was found library practitioners required a type of knowledge on information technology for data storage and services ranging from a high to a highest level. Top priorities of the knowledge to take courses in include knowledge and practical skills in utilizing various types of information technology in library system and library networks, varying types of working automation for library and information centers, library services and information systems as well as management information system (MIS). The knowledge to gain the least at a moderate level was the analytic study of Library of Congress Classification. Recommendations given by respondents include the following : There should be workshops, seminar or training in library science on practical knowledge and “state of the art” topics for those library staff who find in need for it. Library administrators and related superiors should encourage library staff to take part in some professional training so that their knowledge gained will be beneficial and help enhance their regular working efficiency. In addition, the educational institutes offering library science programs and other institutes involved should cooperate in providing more continuing education opportunities for those who would like to further their education higher in the prospective field of library science. Keywords : library and information science – continuing education, continuing education-southern Thailand, library personnel


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548