|
วิวัฒนาการของชุมชนในเขตป่า : กรณีศึกษาในภาคใต้
|
สมยศ ทุ่งหว้า, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ศิริจิต ทุ่งหว้า, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิจารณ์ ธานีรัตน์, สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดสงขลา อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา |
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการของการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ลักษณะ และรูปแบบการถือครองทรัพยากรและการใช้ทรัพยากรในเขตป่า เพื่ออธิบายสาเหตุ เงื่อนไข และผลกระทบการเปลี่ยนแปลงการถือครองและการใช้ที่ดิน โดยการใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งใช้วิธีการศึกษาหลายอย่างประกอบกัน คือ รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลปฐมภูมิ การกำหนดเขตนิเวศทรัพยากร ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเพื่อสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลข่าวสารสำคัญ การสังเกต การประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้ง 2 หมู่บ้านที่คัดเลือกมาศึกษา
ผลการศึกษาสรุปได้ว่าการวิวัฒนาการเกี่ยวกับการตั้งถิ่นฐาน ระบบการถือครอง และการใช้ทรัพยากรของชุมชน 3 ช่วงคือ ช่วงแรกเมื่อ 70 ปีมาแล้ว เป็นยุคของการก่อตั้งฐานของชาวมุสลิมที่มาจากบริเวณหมู่บ้านใกล้เคียง เข้าไปทำมาหากินทั้งแบบถาวรและบางฤดูกาล สภาพพื้นที่ยังเป็นที่อุดมสมบูรณ์ การตั้งถิ่นฐานของครัวเรือนอยู่บริเวณที่ราบใกล้สายน้ำ มีการทำไร่แบบแผ้วถางและเผา การปลูกไม้ผลแบบดั้งเดิม ทำนาในบริเวณที่พอจะสามารถทำนาได้ มีการเก็บเกี่ยวผลผลิตจากป่าและล่าสัตว์ นอกจากนี้แหล่งนี้ยังเป็นแหล่งจับสัตว์น้ำเป็นอาหารด้วย ชุมชนมีความเป็นอิสระในการใช้ทรัพยากรทั้งการใช้ที่ดินและผลผลิตจากป่า สิทธิ์ในที่ดินของแต่ละครัวเรือยังไม่มีการถือครองอย่างถาวร
ช่วงที่สอง เมื่อ 30 ปีที่ผ่านมา คนในชุมชนเริ่มอ้างสิทธิ์ในที่ดินที่เคยทำประโยชน์ มีราษฏรจากจังหวัดใกล้เคียงอพยพเข้ามาซื้อสิทธิ์จากชาวไทยมุสลิมเป็นระยะอย่างตอ่เนื่อง สภาพพื้นที่เริ่มถูกแผ้วถางจากบริเวณที่ราบใกล้ ๆ หมู่บ้าน แล้วขยายออกไปยังพื้นที่เขาและภูเขาสูงชัน มีการปลูกยางพาราและไม้ผลผลิตจากป่าลดน้อยลง เริ่มมีการถือครองที่ดินอย่างถาวรหลังจากที่การปลูกยางพาราในชุมชนและจากการที่รัฐประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ รวมทั้งการให้เอกสารสิทธิ์ในการถือครองแก่ราษฏรที่ได้ใช้ประโยชน์ที่ดินแล้วเพื่อยับยั้งการบุกรุกป่า แต่การบุกรุกป่าก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากได้มีการให้สัมปทานการทำไม้ในพื้นที่และไม่มีบุคลากรเข้ามาดูควบคุมอย่งทั่วถึงและจริงจัง
ช่วงที่สาม ผลจากการบุกเบิกป่าทำให้ป่าไม้ถูกทำลายไปมากทั้งจากการสัมปทานและการบุกเบิกพื้นที่ทำกินของราษฎร จนกระทั้งเข้ามาสู่ยุคปัจจุบันรัฐได้มีนโยบายและมาตรการต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อนุรักษ์ป่าที่เหลืออยู่ ทำให้มีผลกระทบโดยตรงต่อชุมชนในการใช้ที่ดินและการใช้ทรัพยากรจากป่า เพราะรัฐได้ขยายขอบเขตป่าอนุรักษ์เข้าไปในพื้นที่ที่ราษฎรได้ทำกินแล้ว ราษฏรจึงได้รวมตัวกันจัดตั้งเป็นป่าชุมชนและใช้ทรัพยากรจากป่าภายใต้กฎเกณฑ์ของชุมชนเพื่อต่อรองกับรัฐ การบุกรุกพื้นที่ป่าสมบูรณ์จึงเริ่มลดลง แม้ว่าจะมีการจัดตั้งป่าชุมชนขึ้น แต่ก็ยังคงเกิดความขัดแย้งระหว่างคนในชุมชนด้วยกันเอง โดยคนกลุ่มหนึ่งยังคงต้องการบุกรุกป่าเพื่อขยายพื้นที่ทำกิน และนำผลผลิตจากป่าออกมาขาย โดยการสนับสนุนของบุคคลภายนอกชุมชน ในขณะที่อีกกลุ่มต้องการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรป่าอย่างยั่งยืน
คำสำคัญ : ชุมชน, วิวัฒนาการ, การใช้ที่ดินในป่า, ประวัตินิเวศ, ระบบสังคมเกษตร, ภาคใต้
The objectives of this research were to study the evolution of community settlement pattern of resources tenure, and to explain the utilization of forest resources, cause, conditions and impact of dynamic tenure and land use. The methodology of this study was qualitative, using both primary and secondary data form various sources. In the two villages of study area, data were gathered by interviews with key informants, observation, and attending communitys workshops and conferences.
This study devided the evolution of community settlement, resource tenure and resource utilization into three periods : 1) 70 year ago the village was a muslim community, and the forest still fertile. Households and settlements were built on the river floodplains, and swidden agriculture was practiced, fruit trees cultivated, and rice grown. Many products were also harvested from the forest, and the river was an additional food resource. The communities were free to utilize all resources as they wished, although the private household did not have permanent tenure. 2) Second period, about thirty years ago the situation changed, as private property rights began to be established. People from other provinces began buying land in the area. The forest was cut from the floodplains to the foothills in order to plant more fruit trees and para rubber. Many forest products were no longer available due to over-harvesting. After the para rubber was planted the communities and individuals began to desire tenure, but the government attempted to preserve the forest through national proclamations which attempted to prevent pioneering, but these efforts were largely unsuccessful due to concessions of forest for logging and lack of officers to control the use of forest area. 3) The last period, as a result, the forests were largely cut by concessions, leading to this era of and of government policies and strategies for conservation. This has had a direct impact on land use, and created conflict as government attempts to prevent forest settlement and some group of villagers wish to establish community forests and use the forest productivity sustainable meanwhile, another group wish to exploit forest commercially.
Keywords : communities. Evolution. Forest land use, ecological history, agrarian systems, Southern Thailand
|
|
|
|
| | | | | | | |
Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113 *บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา *All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.
© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand จำนวนผู้เยี่ยมชม
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
|
|