Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 6, No. 2 (2000) open journal systems 


แนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติตะรุเตา

เกิดศิริ เจริญวิศาล, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อำพร วิริยโกศล, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดในด้านต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติตะรุเตาโดยเน้นแนวทางการปฏิบัติได้ภายใต้กฎระเบียบของกรมป่าไม้และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นักวิจัยได้รวบรวมข้อมฦูลทั้งจาแหล่งข้อมูลทุติยภูมิและเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม และโดยการสังเกตการณ์ ซึ่งครอบคลุมกลุ่มบุคคล และบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐบาล เจ้าหน้าที่และพนักงานของภาครัฐและเอกชน ผู้ประกอบอาชีพมัคคุเทศก์และนักท่องเที่ยว โดยได้นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์และแปลความหมาย และนำแนวทางของการวางแผนการท่องเที่ยวทฤษฎีการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มาทำการกำหนดแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวที่เหมาะสม กลุ่มบุคคลที่สำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุทยานแห่งชาติตะรุเตามี 5 กลุ่ม คือ ผู้บริหารหน่วยงานภาครัฐบาล ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ผู้ประกอบการมัคคุเทศก์ และนักท่องเที่ยว ทุกกลุ่มต่างมีความต้องการที่จเเห็นแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติในแนวทางของการรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ซึ่งควรยึดหลักการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเข้ามาดำเนินการ แต่ควรปรับปรุงพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง โครงสร้างพื้นฐานและด้านการบริการอื่น ๆ จากความคิดเห็นด้านความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวพบว่า ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างดี ยกเว้นเรื่องความพึงพอใจด้านไฟฟ้า น้ำ และอาหาร อยู่ในระดับที่ควรปรับปรุง ในขณะที่พนักงานของกรมป่าไม้ที่ทำหน้าที่ให้บริการมีความเห็นว่า การปฏิบัติงานของอุทยานแห่งชาติอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างดี และมีความเห็นว่าภาพโดยรวมของงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวอยู่ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างดี ข้อที่ควรปรับปรุงมากที่สุดคือ การที่นักท่องเที่ยวขาดความรู้ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ แม้ว่าอุทยานแห่งชาติมีความตั้งใจที่ดีทีจะบริการนักท่องเที่ยวให้ดีที่สุดภายใต้ข้อกำกัดของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และกฎระเบียบราชการ กลุ่มส่วนใหญ่ยังคงมีความเห็นว่าควรมีการปรับปรุงและพัฒนาด้านการบริการและการจัดการ จึงน่าจะพิจารณาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนเข้ามาดำเนินการในบริการบางอย่างโดยมีอุทยานแห่งชาติเป็นผู้ควบคุมแต่ทั้งนี้ต้องมีการจัดการที่ดีและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในขั้นตอนในการคัดเลือกและควบคุมผู้ให้บริการ ในการพัฒนาการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติตะรุเตาในเชิงนิเวศนั้นพบว่า จำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย เช่น กรมป่าไม้ กรมเจ้าท่า กรมศิลปากร กรมประมง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กองบังคับการตำรวจท่องเที่ยว หน่วยงานระดับจังหวัด และผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ฯลฯ ดังนั้นอุทยานแห่งชาติควรปรับเปลี่ยนบทบาทไปเป็นผู้ประสานงานที่สร้างความร่วมมือของกลุ่มบุคคลดังกล่าว และควรพิจารณาความเป็นไปได้ในการให้เอกชนเข้ามาให้บริการบางอย่างแก่นักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ แต่ทั้งนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่อุทยานแห่งชาติจะต้องกำกับดูแลอย่างเข้มงวด เพื่อมิให้เอกชนดำเนินธุรกิจในทางที่มุ่งแสวงหากำไรจนขัดแย้งกับวัตถุประสงค์หลักของอุทยาน คือ การอนุรักษ์ สิ่งแวดล้อม คำสำคัญ : การพัฒนาการท่องเที่ยว, อุทยานแห่งชาติตะรุเตา This research is an exploratory study aiming to determine the existing problems and limitations, and to find appropriate directions to develop tourism of the Tarutao National Park. These development directions must be under laws, rules, and policies of The Royal Forest Department and Tourism Authority of Thailand. Data were gathered both from secondary and primary sources. Qualitative study techniques were employed including personal interviewing, questionnaire interviewing, observation and recording, covering tourism related entities who were involved either directly and indirectly with Tarutao National Park’s tourism. The data were analyzed and interpreted by applying the tourism planning theory, the sustainable theory, and ecotourism principles. An appropriate approach was then formulated. Five important groups of people are involved with the Tarutao National Park’s tourism. These groups were government administrators, tourism operators, tourist guides, and tourists. All these groups agree about the need to develop tourism in line with the conservation of natural resources, culture, and history. These agreements were based on the needs for improvement in transportation, infrastructure, and other services. From the study on tourist satisfaction, it was found that the level of general satisfaction was medium to rather good except for electricity, water, and food the level of satisfaction was low and should be improved. On the other hand, the service personnel, all of whom were attached to the Royal Forest Department, felt that the quality of service and management are in between medium level to rather satisfactory. They also felt that tourist behaviour in general was somewhere between medium level to rather satisfactory. They also felt that tourist behaviour in general was somewhere between medium level to rather good level but the need for proper knowledge about ecotoutism among tourists was suggested. Despite the good intention of the National Park to provide the best services available to tourists under the limitations of geographical location and governmental rules and laws, most of the groups indicated the need for improvement in services and management. The possibility of allowing private organizations to provide services under the supervision of the National Park should be considered. Professional and efficient management must be emphasized, especially in the selection and control of the service providers. Ecotourism of Tarutao National Park needs cooperation from many organizations, namely, The Royal Forest Department, The Harbour Department, The Fine Art Department, Department of Fisheries, Tourism Authority of Thailand, Tourism Police Office, provincial government offices, and tourism operators. The National Park should emphasize on the role of a coordinator who seeks cooperation between these organizations. The possibility of allowing private operators to operate some tourist services should be considered. However, a strict control by the National Park is highly necessary to see that the private operators do not operate for profit making at the expense of the main objective of the National Park, that is the conservation of environment. Keywords : tourism development, Tarutao National Park


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548