|
ลักษณะและความต้องการการฝึกอบรมของวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมในภาคใต้
|
สมแก้ว รุ่งเลิศเกรียงไกร, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จงพิศ ศิริรัตน์, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ยุพาวดี สมบูรณกุล, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เสาวณี จุลิรัชนีกร, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สมชาติ จุลิรัชนีกร, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จิราวรรณ สำอางศรี, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่มโพธิ์ เรืองสงฆ์, ภาควิชาบริหารธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษาลักษณะและความต้องการฝึกอบรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคใต้คือ 1) ศึกษาถึงลักษณะเฉพาะที่สำคัญของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อย และ 2) ศึกษาถึงความต้องการการพัฒนาคนเองของผู้ประกอบการ
การจัดเก็บข้อมูลได้กำหนดขั้นตอนดังนี้ 1) เลือกจังหวัดสงขลา สุราษฎร์ธานี และภูเก็ต เป็นตัวแทนของจังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เนื่องจากจังหวัดทั้ง 3 เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญ และสามารถสะท้อนภาพการดำเนินธุรกิจในภาคใต้ 2) เลือกประชากรเป้าหมายจากทำเนียบโรงงานอุตสาหกรรมของแต่ละจังหวัด สำนักงานจดทะเบียนนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ภาคใต้ และทะเบียนการค้าของแต่ละจังหวัด 3) กำหนดพื้นที่ที่เป็นตัวแทนของจังหวัดคือ จังหวัดสงขลาเลือกอำเภอเมืองและอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสุราษฎร์ธานีเลือกอำเภอเมืองและอำเภอพุนพิน ส่วนจังหวัดภูเก็ตเลือกอำเภอเมือง 4) กำหนดประเภทธุรกิจ 3 ประเภทคือ ภาคอุตสาหกรรม บริการ และค้าปลีกและค้าส่ง 5) กำหนดจำนวนประชากรตัวอย่างตามสัดส่วนของจำนวนประชากรในข้อ 2) และ 6) การสุ่มตัวอย่างจะเลือกรายชื่อกิจการจากข้อมูลในข้อ 2) จำนวนข้อมูลที่จัดเก็บได้ประกอบด้วย จังหวัดสงขลา 93 ตัวอย่าง จังหวัดสุราษฏร์ธานี 80 ตัวอย่าง และจังหวัดภูเก็ต 80 ตัวอย่าง รวม 253 ตัวอย่าง
ผลการศึกษาลักษณะและความต้องการการฝึกอบรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พบว่า
1. ลักษณะของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาคใต้มีลักษณะดังนี้
1) มีลักษณะเฉพาะของกิจการในแต่ละจังหวัด
2) ผู้ประกอบการยังไม่ได้นำการจัดการสมัยใหม่มาใช้ในธุรกิจ
3) อุปสรรคสำคัญในการดำเนินธุรกิจคือ ความไม่แน่นอนของธุรกิจ อันเนื่องจากสภาพฤดูกาล และลักษณะธุรกิจ
4) ผู้ประกอบการเชื่อว่า ความสำเร็จของกิจการได้จากชื่อเสียงของธุรกิจที่สามารถสร้างความประทับใจให้แก่ลูกค้า
5) ลักษณะเฉพาะของผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จคือ ความรู้ในงาน มนุษยสัมพันธ์ ความสามารถตัดสินใจ ความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานมีระบบ
6) ผู้ประกอบการเชื่อว่า ทำเลที่ตั้งเป็นจุดเด่นสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ
7) มีผู้ประกอบการเพียงร้อยละ 60 ที่สามารถระบุได้ว่าอะไรคือจุดด้อยของกิจการตนเอง
2. ความต้องการฝึกอบรม ผู้ประกอบการต้องการฝึกอบรมหัวข้อการตลาด การจัดการ การผลิต การบัญชี การเงิน ทั้ง ๆ ที่ให้ความสำคัญกับหัวข้อต่าง ๆ ในระดับน้อยมากถึงปานกลาง
3. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ พบว่า จังหวัด ประเภทธุรกิจ ระยะเวลาดำเนินธุรกิจ ผู้ก่อตั้งกิจการผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจ ลักษณะผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจ อนาคตของกิจการ ข้อมูลของผู้ประกอบการสามารถอธิบายความแตกต่างของลักษณะและความต้องการฝึกอบรมของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้
ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการศึกษาคือ 1) ควรมีการวิเคราะห์ข้อมูลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแต่ละจังหวัด 2) การจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม ความนำปัจจัยที่แตกต่างกันมาประกอบการพิจารณาสร้างหลักสูตร และ 3) ควรศึกษาและวิจัยในเชิงเปรียบเทียบกับต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ความเหมือนและแตกต่าง
คำสำคัญ : ลักษณะผู้ประกอบการ, วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, ความต้องการการฝึกอบรม
The objectives of the study are : 1) To identify specific characteristics of SMEs in the south and 2) To identify entrepreneurs needs in self-improvement and development.
The steps in data collections are as following :
1) Choosing Songkhla, Surat Thani and Phuket as the representatives of the southern area since these 3 provinces are an important economic center, which can reflect the businesses scenario in the south.
2) Choosing the target population from the Industrial Factory Registration, Southern Travel Agent and Tourist Guide Registration, and Trade Registration in each province.
3) The areas chosen were : Muang District and Hat Yai District in Songkhla; Muang District and Phun Pin District in Surat Thani; and Muang District in Phuket.
4) Data collection from 3 sectors of businesses : industry sector, service sector and commercial sector both in retail and wholesale.
5) The sampling was done through the business name list in 2. The total number of samples collected was 253. The amount collected in Songkhla, Surat Thani, and Phuket were 93, 80 and 80 respectively.
The findings from this study are :
1. The nature of SMEs :
1) There are some specific characteristics of the firms in each province.
2) There is rarely use of managerial skill in their operation.
3) The major obstacle in business operation is the uncertainty of the environment : seasonal and the characteristics of the business.
4) The entrepreneurs belief that the success of the business is through the famous and good. Will of the firm.
5) The specific characteristics of successful entrepreneurs are knowledge in human relations, decision-making ability, initiative, and systematic operations.
6) The entrepreneurs belief that location of the firm is the key success factor for business.
7) There is only 60 percent of entrepreneurs that can identify the weaknesses of their business.
2. Training needs for SME entrepreneurs are in the fields of marketing, management, production, accounting, and finance, eventhough they gave vary score to these fields, ranging from very low to average rating score.
3. The relationships among factors : provinces, type of business, length of operation, founders, current economic situation and its nature, the future of the firm, and entrepreneur information canidentify the distiction of characteristics and training needs of SMEs.
The recommendations from the study are : 1) There should be more data analysis for SMEs in each province 2) The different factors in the training curriculum development for SMEs should be scrutinized 3) There should be more comparative study and research with other countries to identify the similarities and the distictions of MSEs.
Keywords : entrepreneurs characteristics, small and medium enterprises, training needs
|
|
|
|
| | | | | | | |
Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113 *บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา *All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.
© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand จำนวนผู้เยี่ยมชม
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
|
|