Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 5, No. 2 (1999) open journal systems 


บทบาทมัสยิดในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

แวอุเซ็ง มะแดเฮาะ, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ดลมนรรจน์ บากา, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุวิชา ยี่สุ่นทรง, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของมัสยิดในด้านศาสนา การศึกษา สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองทั้งในชนบทและในเมือง 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของระดับความรู้และฐานะทางเศรษฐกิจของอิหม่ามกับบทบาทของมัสยิด 3) เพื่อศึกษาความคาดหวังของชาวไทยมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อบทบาทของมัสยิดในอนาคต ในการวิจัยครั้งนี้ คณะผู้วิจัยได้เลือกประชากรตัวอย่างจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันได้แก่ ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 278 ราย เป็นอิหม่าม 35 ราย กรรมการมัสยิด 59 ราย และสัปบุรุษ 184 ราย โดยเป็นกลุ่มตัวอย่างจากชนบท 133 ราย และจากในเมือง 145 ราย คณะผู้วิจัยได้เสนอผลของการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปของตารางซึ่งมีสถิติ 3 อย่าง คือ ค่าร้อยละ, ค่า x2-test และค่า Gamma ( r ) ผลของการวิจัยสรุปได้ดังนี้ :- 1. ทั้งมัสยิดในเมืองและในชนบทต่างก็มีบทบาททางศาสนาที่เหมือนกันอยู่ในระดับปานกลางมากที่สุด 2. มัสยิดในเมืองมีบทบาททางการศึกษาในระดับน้อย (ต่ำ) มากที่สุด แต่มัสยิดในชนบทมีบทบาทในระดับมาก (สูง) มากที่สุด 3. มัสยิดในเมืองมีบทบาททางด้านสังคมในระดับปานกลางมากที่สุด ขณะที่มัสยิดในชนบทมีบทบาทในระดับมาก (สูง) มากที่สุด 4. ทั้งมัสยิดในเมืองและในชนบทมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจและการเมืองที่เหมือนกัน ต่างก็มีบทบาทในระดับน้อย (ต่ำ) มากที่สุด 5. ระดับความรู้ทางศาสนาของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านศาสนาที่แตกต่างกันอิหม่ามของมัสยิดในเมืองที่มีความรู้ปานกลางมีบทบาทางด้านศาสนาในระดับสูงมากที่สุด ในขณะที่อิหม่ามของมัสยิดในชนบทที่มีความรู้สูงมีบทบาทางด้านศาสนาในระดับสูงมากที่สุด 6. ระดับความรู้ทางศาสนาของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านการศกึษาที่แตกต่างกันอิหม่ามของมัสยิดในเมืองที่มีความรู้ปานกลางมีบทบาททางด้านการศึกษาในระดับสูงมากที่สุด ในขณะที่อิหม่ามของมัสยิดในบทบาทที่มีความรู้สูงมีบทบาททางด้านการศึกษาในระดับสูงมากที่สุด 7. ระดับความรู้ทางศาสนาของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านสังคมที่เหมือนกันกล่าวคือ อิหม่ามที่มีความรู้ปานกลางจะมีบทบาททางด้านสังคมในระดับสูงมากที่สุด 8. ระดับความรู้ทางศาสนาของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านเศรษฐกิจที่เหมือนกัน กล่าวคือ อิหม่ามที่มีความรู้ต่ำจะมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจในระดับสูงมากที่สุด 9. ระดับความรู้ทางศาสนาของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาทางด้านการเมืองที่แตกต่างกัน อิหม่ามของมัสยิดในเมืองที่มีความรู้ปานกลางมีบทบาททางด้านการเมืองในระดับสูงมากที่สุด ในขณะที่อิหม่ามของมัสยิดในบทบาทที่มีความรู้ต่ำมีบทบาททางด้านการเมืองในระดับสูงมากที่สุด 10. ฐานะทางเศรษฐกิจของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านศาสนาที่เหมือนกัน กล่าวคือ อิหม่ามที่มีฐานะปานกลางจะมีบทบาททางด้านศาสนาในระดับสูงมากที่สุด 11. ฐานะทางเศรษฐกิจของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านการศึกษาที่แตกต่างกัน อิหม่ามในเมืองที่มีฐานะร่ำรวยจะมีบทบาททางด้านการศึกษาในระดับสูงมากที่สุด ส่วนอิหม่ามในชนบทที่มีฐานะปานกลางจะมีบทบาททางด้านการศึกษาในระดับมากที่สุด 12. ฐานะทางเศรษฐกิจของอิหม่ามในชนบทและในเมืองที่มีความสัมพันธ์ทางด้านสังคมที่แตกต่างกันอิหม่ามในเมืองที่มีฐานะร่ำรวยจะมีบทบาททางด้านสงคมในระดับสูงมากที่สุด ส่วนอิหม่ามในชนบทที่มีฐานะปานกลางจะมีบทบาททางด้านสังคมในระดับสูงมากที่สุด 13. ฐานะทางเศรษฐกิจของอิหม่ามในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านเศรษฐกิจที่เหมือนกกัน กล่าวคือ อิหม่ามที่มีฐานะร่ำรวยจะมีบทบาททางด้านเศรษฐกิจในระดับสูงมากที่สุด 14. ฐานะทางเศรษฐกิจของอิหม่าาในชนบทและในเมืองมีความสัมพันธ์กับบทบาททางด้านการเมืองที่เหมือนกัน กล่าวคือ อิหม่ามที่มีฐานะยากจนจะมีบทบาททางด้านการเมืองในระดับสูงมากที่สุด 15. ชาวไทยมุสลิมไม่ว่าชายหรือหญิงทั้งในเมืองและในชนบทต่างก็มีความคาดหวังต่อบทบาทมัสยิดในอนาคตอยู่ในระดับสูงมากที่สุด คำสำคัญ : บทบาท, มัสยิด, สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, ประเทศไทย The objectives of this research are 1) to study the roles of the Masjids concerning the religion, education, society, economy and the politic in both rural and urban areas, 2) to study the relationship between the level of knowledge and the economy of Imams with their roles, and 3) to study the Muslims’ expected roles in the future of Masjids in the three Southern Border Provinces of Thailand. In this research, the researchers have selected samples of the targeted population in the three southern border provinces, namely Pattani, Yala and Narathiwat by collecting data from 278 samples, 133 samples from the rural areas and 145 samples from the urban ones. The targeted population are 35 Imams, 59 committee members of the Masjids and 184 sabburuses (the members of the Masjids). The researchers have presented the analytical result in the from of diagram with three types of statistics, namely : percentage, Chi-square-test (x2-test) and Gamma ( r ). The result of the research are as follows :- 1. Both the Masjids in the rural and urban areas have the same religions roles. Most of them are in the moderate level. 2. Most of Masjids in the urban areas have the same educational roles at the low level while most of the Masjids in the rural areas play the educational roles at the high level. 3. Most of Masjids in the urban areas play social roles at the moderate level, but in the rural sreas, most of the Masjids play roles at the high level. 4. Most of Masjids in the rural and urban areas play the same economic and political roles. Most of them are at the low level. 5. The level of religious knowledge of Imams in the rural and urban areas relating to the religious roles of the Masjids is different. Most of Imams in urban areas who have the moderate degree in the religious education play the religious roles at the high level, while the Imams of the rural areas who have good religious education play the high roles in religion. 6. The level of religious knowledge of the Imams in rural and urban areas relating to the educational roles is different. Most of the Imams in the urban areas who play the high level of education are those who have the moderate level of religious education while in the rural areas, most of the Imams who play the high level of education are those who have the high level of religious education. 7. The level of religious knowledge of Imams in both rural and urban areas has been the same in relating to the social roles, The Imams who have moderate knowledge play the high roles in society. 8. The level of religious knowledge of Imams in both rural and urban areas has been the same in relating to the social roles. The Imams who have low level of knowledge play the high roles in society. 9. The level of religious knowledge of Imams in both rural and urban areas has become different in relation to the social roles. Imams in urban areas who have moderate knowledge of Islam play the high roles in politics while those in the rural areas who have low level of Islamic knowledge play the high roles in politics. 10. The relationship between Imams’ economic status with the educational roles of the Masjids in the rural and urban areas is the same. Most of the Imams who are in the moderate level of economic status play the roles in the high level. 11. The relationship between Imams’ economic status with the educational roles of the Masjids in the rural and urban areas is different. Most of the rich (wealthy) Imams in the urban areas play the high level of educational roles while the moderate Imams in the rural areas play the high level of the educational roles. 12. The relationship between Imams’ economic status with the social roles of the Masjids in the urban and rural areas is different. Most of the wealthy Imams in the urban areas play the high level of the social roles. But most of the Imams who are at the moderate level of economic status in the urban areas play the high level of the social roles. Keywords : roles, Masjids, Three Southern Border Provinces, Thailand


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548