Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 5, No. 2 (1999) open journal systems 


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนที่ส่งเสริมการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนรอบอ่าวปัตตานี

ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์, ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา และการจัดกิจกรรมของโรงเรียนที่ส่งเสริมการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนรอบอ่าวปัตตานี และเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมเหล่านั้นตามความแตกต่างของตัวแปรด้านพื้นที่ สภาพชุมชน ขนาดโรงเรียน และที่พักอาศัยของครูอาจารย์ ประชากรที่ใช้ศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารและครูอาจารย์ 21 โรงเรียน โดยสัมภาษณ์ผู้บริหารจำรวน 21 คน และให้ครูอาจารย์ 123 คน ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับกิจกรรมความสัมพันธ์ระหว่างโรงเยนกับชุมชนที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนรอบอ่าวปัตตานี ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การบริการแก่ชุมชน การร่วมกิจกรรมของชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมของโรงเรียน และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชนที่ส่งเสิรมการอนุรักษ์ และการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมในชุมชนารอบอ่าวปัตตานี ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ การบริการแก่ชุมชน การร่วมกิจกรรมของชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมของโรงเรียน และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับองค์กรอื่น สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน ค่าเอฟ และค่าที และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยกับเกณฑ์สัมบูรณ์เพื่ออภิปรายผล จากการศึกษาพบว่าสภาพโดยทั่วไปของทรัพยากรสิ่งแวดลอ้มในชุมชนรอบอ่าวปัตตานี มีปัญหาอยู่ในระดับมาก ได้แก่ น้ำสำหรับริโภคและแหล่งน้ำมีไม่เพียงพอ ที่ดินเสื่อมโทรม ป่าชายเลนถูกบุกรุกทำลาย ชายทะเลไม่ได้รับการอนุรักษ์และการจัดการที่เหมาะสม ที่อยู่อาศัยและประชากรแออัด ไม่ได้รับการพัฒนาสุขภาพอนามัย และที่จำเป็นมากคือ ควรได้รับการอนุรักษ์และการจัดการที่เหมาะสม ที่อยู่อาศัยและประชากรแออัด ไม่ได้รับการพัฒนาสุขภาพอนามัย และที่จำเป็นมากคือ ควรได้รับการอนุรักษ์และการจัดการที่เหมาะสม โดยที่โรงเรียนประถมศึกษาได้ปฏิบัติงานด้านความสัมพันธ์โรงเรียนกับชุมชนซึ่งเป็นงานหนึ่งที่ควรเน้นให้มาก ทั้งนี้เนื่องจากความจำเป็นของสภาพชุมชน ปรากฏว่าการปฏิบัติกิจกรรมดังกล่าวอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อเปรียบเทียบตามตัวแปรต่าง ๆ นั้น แตกต่างกันตามสภาพพื้นที่อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยที่โรงเรียนที่อยู่ในเขตอำเภอหนองจิกจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมมากกว่า โรงเรียนที่อยู่ในอำเภอยะหริ่งและอำเภอเมือง นอกนั้นตัวแปรด้านอื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกัน คำสำคัญ : ความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน, การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม, การบริการชุมชน, การร่วมกิจกรรมของชุมชน, การมีส่วนร่วมของชุมชนในกิจกรรมของโรงเรียน The research was intended to study the school activities and compare the activity performances in the different variables; districts, communities, school sizes, and the residents of teachers. The population were 21 administrators and 123 lecturers from the elementary schools around Pattani bay community. It covered three districts; Muang, Nong Chik and Yaring. The instrument for the data collection was a questionnaire and interview, consisted of fove areas; public relations, community services, school participation, community participation, and the relations between the school and other agencies. The questionnaire was designed as Likert scales and open-end questions. The data analysis were percentage, arithmetic mean, standard deviation, F-test and t-test. The results were found that the surroundings of environmental resources in the Pattani bay were the water pollution and lack of cleaned water, damaged soil, destroyed sea plants, lack of conservation and management for the beach, over population in some communities and lack of health care. It was necessary for conservation and management. The elementary schools around the Pattani bay should take actions, on the community relations that was their important jobs, to enhance the activities for environmental resources. The study was also found that the schools performed these activities in the middle level. The comparison of those different variables, the districts were significant difference at .05 level, that was the schools in Nong Chik performed the activities for environmental resources conservation and management more than the schools in two districts. The other variables were not found the differences. Keywords : school and community relations, environmental resources management, community services, community participation, school activity participation


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548