Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 5, No. 1 (1999) open journal systems 


ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ที่มีต่อการพัฒนาส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเทศไทย

ปิ่น จันจุฬา, ภาควิชาเทคโนโลยีและการอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานคริ
สมชัย คอวณิชกิจ, สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดปัตตานี
เกรียงศักดิ์ ปัทมเรขา, ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา นราธิวาส และปัตตานี) มีน้อยมาก นอกจากนี้ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ที่มีต่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ดังกล่าวยังไม่เคยปรากฏสู่สาธารณะ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาถึงข้อคิดเห็นของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ที่มีต่อการพัฒนาส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ของเกษตร เนื่องจากประชากรในการศึกษามีจำนวนจำกัดจึงไม่มีการสุ่มตัวอย่าง แต่ได้ใช้ประชากรทั้งหมดเป็นตัวอย่างการศึกษา โดยได้ทำการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์รวมทั้งสิ้น 105 คน ผลการวิจัยพบว่า ประชากรส่วนใหญ่มีทัศคติที่ดีต่องานและหน่วยงาน และเห็นว่าการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นเขตเศรษฐกิจสามารถที่จะทำได้ โดยส่งเสริมปัจจัยการผลิต การจัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง การตลาด และการจัดตั้งกลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์ ปัญหาสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ คือ เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มีไม่เพียงพอ และนโยบายของรัฐไม่เหมาะสม ยากต่อการปฏิบัติ เกี่ยวกับปัญหาการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร พบว่าเกษตรกรมีปัญหาสำคัญ คือ การขาดความรู้และความเข้าใจในการเลี้ยงสัตว์ การเลี้ยงสัตว์เป็นอาชีพเสริม เกษตรกรจึงให้ความสนใจน้อย และภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวย ผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่า การจัดการฝึกอบรมแบบเข้มข้นเกี่ยวกับการเลี้ยงสัตว์ให้กับเกษตรกรเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นหลักประกันความสำเร็จในการพัฒนา นโยบายของรัฐควรมีความชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการปฏิบัติ รวมทั้งมีวิธีการช่วยเหลืออื่น ๆ เช่น พันธุ์สัตว์ที่มีคุณภาพ ตลาด รวมทั้งสิ้นเชื่อที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ คำสำคัญ : เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์, การเลี้ยงสัตว์, การส่งเสริม, 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประเทศไทย Animal raising in the three southernmost provinces in southern Thailand (Yala, Narathiwat and Pattani) is not widely practiced, nor has the opinions of agricultural extension officers on this subject ever been surveyed . This study aimed to investigate the opinions of livestock officers concerning the development strategies for animal raising extension in these three provinces. Due to the limited number of livestock officers, normal sampling techniques were not employed; rather, the entire population of the 105 livestock officers was the sample in the investigation. It was found that most livestock officers had a favorable attitude towards their work and organization. Most agreed that it is possible to develop three southernmost provinces as a viable economic zone for animal raising. To do This successfully, a number of programs should be initiated, such as provision of farm input, continuing intensive trainings for farmers, marketing, and formings of farmer groups. The inadequacy of livestock officers and unclear policies from the Department of Livestock Development were mentioned as their major working problems. Major concerns regarding the farmers’ problems with animal raising were : 1) farmers lacked basic knowledge and understanding of animal raising, 2) animal raising was a supplementary occupation, and thus received little attention, and 3) the local topography was unfavorable for most animal raising. The results of the survey indicate that an intensive training program for farmers should be undertaken as soon as possible to guarantee successful development. In addition, government policies should be clear enough to provide guidelines for implementation. Besides, good quality parent stock, marketing assistance, training as well as low-interest loans should be made available. Keywords : livestock officers, animal raising, extrusion, three southernmost provinces of Thailand


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548