Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 8, No. 3 (2002) open journal systems 


สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของราษฎรที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและแนวกันชน : กรณีศึกษาเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา จังหวัดระนอง

สุธัญญา ทองรักษ์, ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สิริรัตน์ เกียรติปฐมชัย, ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
สุชิรา แก้วรักษ์, ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและทรัพยากร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของราษฏรในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคาและพื้นที่แนวกันชนในจังหวัดระนอง 2) เพื่อศึกษาลักษณะการถือครองและใช้ประโยชน์ที่ดินของราษฎรในพื้นที่ศึกษา และ 3) เพื่อทราบถึงความคิดเห็นของราษฎรเกี่ยวกับการจัดการเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาคา และแนวทางการแก้ไขการบุกรุกพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ โดยอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ 181 รายและในพื้นที่แนวกันชน 200 ราย รวม 381 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงพรรณนาและใช้ค่าสถิติ t และการทดสอบไคสแควร์สำหรับการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่าราษฎรส่วนมากประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลัก ครัวเรือนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ มีรายได้รวมเฉลี่ย 103,683 บาทต่อปี ส่วนครัวเรือนนอกเขตฯ มีรายได้รวมเฉลี่ย 99,766 บาทต่อปี รายได้ทางการเกษตรมาจากการผลิตกาแฟเป็นหลัก สัดส่วนรายได้นอกภาคการเกษตรไม่สูงนักและส่วนใหญ่มาจากการรับจ้าง รายได้จากการหาของป่าและผลผลิตจากป่ามีน้อยมาก ของป่าที่หาได้จะใช้บริโภคในครัวเรือนเท่านั้น รายจ่ายของครัวเรือนส่วนใหญ่เป็นค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ ค่าใช้จ่ายเพื่อลงทุนในการเกษตรมีสัดส่วนน้อยกว่าค่าใช้จ่ายในการครองชีพมาก ครัวเรือนประมาณครึ่งหนึ่งมีหนี้สิน หนี้สินของครัวเรือนในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ เฉลี่ยครัวเรือนละ 83,278 บาท และนอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ครัวเรือนละ 67,836 บาท ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวมีสมาชิก 4-6 คน ระดับการศึกษาค่อนข้างต่ำ ราษฎรที่อาศัยอยู่นอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเข้ามาตั้งถิ่นฐานนานกว่าราษฎรที่อยู่ในเขตฯ (เฉลี่ย 24 ปี และ 13 ปี) วัตถุประสงค์หลักที่มาตั้งถิ่นฐานในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ คือ หาที่ดินทำกิน ครัวเรือนในเขตและนอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ มีที่ดินถือครองเฉลี่ย 20.5 และ 21.0 ไร่ต่อครัวเรือน ราษฎรที่อยู่ในเขตฯ ร้อยละ 6.6 มีที่ดินถือครองนอกเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ และมีราษฎรนอกเขตฯ ร้อยละ 13.5 มีที่ดินถือครองในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อต่อจากผู้ที่มาบุกเบิกป่าก่อนหน้าที่ดินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าจำนวนหนึ่งมีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องจากกรมที่ดิน การใช้ประโยชน์จากที่ดินส่วนใหญ่ใช้ทำสวนผสม สวนยางพารา สวนกาแฟ และสวนไม้ผล ราษฎรส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ มีความจำเป็นและมีประโยชน์ต่อการปกป้องพื้นที่ป่าและการอนุรักษ์ แนวทางในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าฯ ได้แก่ 1) การเข้มงวดในการปราบปรามผู้เข้าบุกรุกพื้นที่ 2) ให้ชาวบ้าน ผู้นำท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ของรัฐร่วมมือกันดูแลป่า 3) กำหนดแนวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯ ให้ชัดเจน และ 4) จัดสรรที่ป่าเสื่อมโทรมให้เกษตรกรใช้ทำกิน

คำสำคัญ : การใช้ประโยชน์ที่ดิน, การบุกรุกป่า, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองนาดาและแนวกันชน สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของราษฎร

Abstract
This research aimed 1) to examine the socio-economic characteristics of the vilagers living in Naca wildlife Sanctuary and the buffer zone in Changwat Ranong; 2) to study landholdings and land uses in the study area; and 3) to study the villagers’ opinions of managing Naca Wildlife Sanctuary and means to solve the problem of forest encroachment. The data were obtained by interviewing 381 heads of household, 181 living in the Wildlife Sanctuary, and 200 in the buffer zone. Descriptive analysis was used, supplemented with quantitative analysis using t-test and chi square test. It was found that most villagers earned their income from agrieulture. The average total income was 103,383 baht per household per year for those living in the Sanctuary and 99,766 baht for those in the buffer zone. Agricultural income was mainly from coffee. The proportion of off-farm income was very low and was mainly from employment. Cash income from forest products was very small; forest products were consumed within the households. Household expenditures were mainly for living; the proportion of income allocated for farm production was much smaller. Half of the households had debt, the average of which was 83,278 baht per household for those living in the Sanctuary and 67,836 baht for those in the buffer zone. Most households had 4-6 members and their educational attainment was tather tow. Villagers in the buffer zone had settled in the area for 24 years on average while those in the Sanctuary had settled there for 13 years. The major purpose of their settlement in the Sanctuary was to find land for agricultural production. Households in the Sanctuary and the buffer zone occupied 20.5 and 21.0 ral per household. 6.6% of households in the Sanctuary occupied land in the buffer zone and 13.5% of households in the buffer zone occupied land in the Sanctuary. Most villagers bought their land from those who had encroached the Sanctuary. Come pieces of land in the Sanctuary occupied by the villagers had land titles. Major agricultural land uses in the study area were for mixed orchard, rubber, coffee and fruit tree plantations. Most villagers thought that establishment of the Sanctuary was very important to protecl public forest and wildlife. Their suggestions to reduce the problem of forest encroachment included : 1) strict legal enforcement, 2) cooperation among villagers, local leaders, and officials to protect the forests, and 3) clear delimitation of the Sanctuary, and 4) allocation of degraded forest land to the farmers.

Keywords : forest encroachment, land use, Naca wildlife Sanctuary, socio-economic characteristics


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548