Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 6, No. 1 (2000) open journal systems 


การพัฒนาชุดกิจกรรมการแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมความคิดวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสามจังหวัดชายแดนภาคใต้

อัจฉรา ธรรมาภรณ์, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ปราณี ทองคำ, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของชุดกิจกรรมการแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ที่มีต่อความคิดวิจารณญาณของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาต้อนต้น สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 120 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตเมือง 60 คน และเขตชนบท 60 ตัวแปรอิสระคือ วิธีสอน ซึ่งมี 2 วิธี คือวิธีสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการแก้ปัญหา และวิธีสอนตามแบบคู่มือครูของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ (สสวท.) ตัวแปรตามคือ ความคิดวิจารณญาณ และตัวแปรควบคุมคุมคือ ประเภทของโรงเรียน แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โรงเรียนในเขตเมืองและโรงเรียนในเขตชนบท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยชุดกิจกรรมการแก้ปัญหาในวิชาวิทยาศาสตร์ 8 กิจกรรม แผนการสอน และแบบทดสอบความคิดวิจารณญาณ มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ได้รับวิธีการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมแก้ปัญหา มีความคิดวิจารณญาณหลังการทดสอบสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทั้งโรงเรียนในเขตเมืองและโรงเรียนในเขตชนบท นักเรียนในโรงเรียนเขตชนบทกลุ่มที่ได้รับวิธีสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมแก้ปัญหามีการพัฒนาความคิดวิจารณญาณสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับวิธีสอนแบบคู่มือครูของสสวท. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนในโรงเรียนเขตเมือง ทั้งกลุ่มที่ได้รับวิธีสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมแก้ปัญหา และกลุ่มที่ได้รับวิธีสอนแบบคู่มือครูของสสวท. มีการพัฒนาความคิดวิจารณญาณไม่แตกต่างกัน คำสำคัญ : ชุดกิจกรรมการแก้ปัญหา, ความคิดวิจารณญาณ, ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, สาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ The purpose of this research was to develop and investigated the effects of problem solving activity package in science on critical thinking enhancement of lower secondary level students in three southern boarder provinces. The subjects were 120 Mathayomsuksa I students from the schools in urban and rural district. The subjects in each school were randomly assigned into one experimental group and one control group, 30 students in each. Independent variable was instructional method of two categories: problem solving activity package instructional method and teacher manual method which was developed by the Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). Control variable was school type of two categories: schools in urban district and rural district. The instrument included the problem solving activity package composed of eight sets of problem solving activities, a teacher manual, a student manual, lesson plans and a 30-item test on critical thinking. The subjects in each group received eight treatments for eight 50-minute sessions. All subjects in both experimental group and control group received pre-test on critical thinking and post-test after all the experiments. The obtained scores were analyzed by mean, standard deviation and t-test. The results were as follows: The students from both urban and rural district schools significantly increased their critical thinking at .01 level after taking the treatment of problem solving activity package. The students from rural district school treated with problem solving activity package increased their critical thinking higher than those treated with IPST teacher’s manual method at .05 level of significance, but there was no difference between those in urban district school. Keywords : problem solving activity, critical thinking, lower secondary level, three southern boarder provinces


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548