Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 10, No. 2 (2004) open journal systems 


การนำปรัชญาอาชญาวิทยามาใช้ในการกำหนดโทษของศาลไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ร้ายและผู้กระทำความผิดโดยพลั้งพลาด
An Application of the Philosophy of Criminology to Sentencing in Thai Courts: A Case Study of Criminals by Nature and Criminals by Mistake


อุทิศ สุภาพ
Utid Supap


Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดในการนำปรัชญาอาชญาวิทยามาใช้ในการกำหนดโทษ และหาข้อสรุปเกี่ยวกับแนวคิดและการนำปรัชญาอาชญาวิทยามาประยุกต์ใช้ในการกำหนดต่อผู้กระทำผิด รวมทั้งศึกษาความคิดเห็นของผู้พิพากษาต่อข้อสรุปที่ได้ ซึ่งมีขอบเขตในการศึกษาเฉพาะกรณีผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ร้าย และผู้กระทำผิดโดยพลั้งพลาด โดยใช้วิธีดำเนินการวิจัยจากเอกสาร และการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกเป็นหลักและนำผลที่ได้มาสังเคราะห์เป็นข้อสรุป เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจึงนำไปสอบถามความคิดเห็นของผู้พิพากษาว่าเห็นด้วยหรือไม่ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างประชากรผู้พิพากษาที่รับราชการเป็นผู้พิพากษามาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,249 คน ผลการวิจัยพบว่า การกำหนดโทษควรจะต้องให้มีความเหมาะสมกับความผิดและตัวผู้กระทำผิด สำหรับองค์ประกอบสำคัญในการกำหนดโทษประกอบด้วย (1) ข้อเท็จจริงแห่งคดี และ (2) หลักทฤษฎี สำหรับแนวทางในการนำทฤษฎีการลงโทษมาใช้ในการกำหนดโทษนั้นควรจะต้องนำทฤษฎีการลงโทษมาใช้ร่วมกัน โดยให้ยึดทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งเป็นหลักและนำทฤษฎีอื่นมาเสริม

คำสำคัญ : การกำหนดโทษ, ปรัชญาอาชญาวิทยา, ผู้กระทำผิดโดยพลั้งพลาด, ผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ร้าย, ศาลไทย

Abstract
The objectives of this research were to study the concept of applying the philosophy of criminology to sentencing and to draw a conclusion in connection with its application to offenders, including the examination of judges' opinions on such conclusions. The Scope of the study was limited to case study of criminals by nature and criminals by mistake. The research methods were mainly documentary research and in-depth interviews. The conclusion was developed by the synthesis of the results, derived from such methods. Further, the judges were asked for opinions on that conclusion about whether or not they agreed on it. In this connection, the sample population was composed of 1,249 judges who have been in the judicial positions for over 10 years. The research findings revealed that sentencing should be appropriate for both the offence and the offender. The major elements of sentencing were (1) the facts of the case and (2) the theoretical principles. As for the way to apply the punishment theories to sentencing, the findings recommended mixed applications by putting emphasis on one of them and taking others as the supplements.

Key words : criminals by mistake, criminals by nature, philosophy of criminology, sentencing, Thai court


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548