Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 7, No. 1 (2001) open journal systems 


มโมติที่คลาดเคลื่อนเรื่องสมดุลกลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนประจำจังหวัด เขตการศึกษา 2

พันธ์ ทองชุมนุม, โรงเรียนสาธิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนมติที่คลาดเคลื่อนเรื่องสมดุลกลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนประจำจังหวัด เขตการศึกษา 2 2) เปรียบเทียบมโนมติเรื่องสมดุลกลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนประจำจังหวัด เขตการศึกษา 2 ระหว่างนักเรียนเพศชายและเพศหญิง 3) เปรียบเทียบมโนมติเรื่องสมดุลกลของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนประจำจังหวัด เขตการศึกษา 2 ระหว่างแต่ละจังหวัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2543 ในโรงเรียนประจังหวัด เขตการศึกษา 2 จำนวน 1,132 คน ตัวแปรอิสระคือ เพศ และจังหวัด ซึ่งประกอบด้วย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดมโนมติเรื่องสมดุลกล 1 ฉบับ จำแนกเป็น 10 มโนมติ จำนวน 27 ข้อคำถาม ผลการหาคุณภาพของเครื่องมือวิจัยได้ความเที่ยงของข้อสอบทั้งฉบับ 0.83 การวิเคราะห์ข้อมูลทำการวิเคราะห์เป็นร้อยละของนักเรียนที่ตอบรายข้อและรายมโนมติจำแนกตามเพศและจังหวัด ทดสอบความแตกต่างของคะแนนมโนมติระหว่างเพศชายและเพศหญิงโดยการทดสอบที (t-test) ทดสอบความแตกต่างคะแนนมโนมติระหว่างจังหวัดโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ( One Way ANOVA ) และทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีของ Scheffe ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีโนมติที่คลาดเคลื่อนสูงมากเกือบทุกมโนมติ มีโนมติที่คาดเลื่อนสูงเกินกว่าร้อยละ 50 จำนวน 9 มโนมติ มโนมติที่นักเรียนมีความคลาดเคลื่อนสูงสุดคือมโนมติที่ 6 ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 88.78 มโนมติที่นักเรียนมีความคลาดเคลื่อนต่ำสุดคือมโนมติที่ 3 ซึ่งมีความคลาดเคลื่อนร้อยละ 38.25 และเมื่อคิดเฉลี่ยรวมทุกมโนมติพบว่านักเรียนมีมโนมติที่คลาดเคลื่อนร้อย 66.93 2. มโนมติที่คาดเคลื่อนจำแนกตามเพศพบว่า นักเรียนเพศชายมีมโนมติที่คาดเคลื่อนร้อยละ 64.26 มีความคลาดเคลื่อนสูงสุดในมโนมติที่ 6 ร้อยละ 88.31 คลาดเคลื่อนต่ำสุดในมโนมติที่ 3 ร้อยละ 33.52 นักเรียนเพศหญิงมีมโนมติที่คาดเคลื่อนร้อยละ 67.55 มีความคลาดเคลื่อนสูงสุดในมโนมติที่ 6 ร้อยละ 89.00 คลาดเคลื่อนต่ำสุดในมโนมติที่ 3 ร้อยละ 40.45 3. เมื่อกำหนดคะแนนรวมของนักเรียนที่มีมโนมติที่ถูกต้องทุกข้อเป็น 1 มีมโนมติที่คาดเคลื่อนทุกข้อเป็น 0 คะแนนมโนมติเฉลี่ยจำแนกตามจังหวัดเรียงจากสูงสุดไปต่ำสุดตามลำดับคือ จังหวัดนราธิวาสค่าเฉลี่ย 0.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.21 จังหวัดปัตตานีค่าเฉลี่ย 0.36 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.21 จังหวัดยะลาค่าเฉลี่ย 0.30 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.17 และจังหวัดสตูลค่าเฉลี่ย 0.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.11 4. มีความแตกต่างของคะแนนมโนมติที่คาดเคลื่อนระหว่างนักเรียนเพศชายและเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. มีความแตกต่างของคะแนนมโนมติที่คาดเคลื่อนระหว่างแต่ละจังหวัดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำสำคัญ : มโนมติที่คาดเคลื่อน, สมดุลกล, โรงเรียนประจำจังหวัดเขตการศึกษา 2 This research was intended 1) to study the misconception of mechanical equilibrium of mathayomsuksa five students in provincial schools in educational region two, 2) to compare the conception of mechanical equilibrium of those male and female student, and 3) to compare the conception of mechanical equilibrium of those students in each province. The sample consisted 1,132 mathayomsuksa five student from provincial schools in education region two. Independent variables were gender and province (Pattani, Yala, Narathiwat and Satun province). The research instrument was a measurement test consisting of 27 question items and covering 10 conceptions of mechanical equilibrium. The reliability of the instrument used in this research was 0.83. In analyzing the data, for each question item and each conception percentages were calculated by gender and province. To check mean differences between male and female student, a t-test was performed. A one-way ANOVA was carried out to check the mean differences between provinces, and pairwise differences were established using Scheffe’s method. The findings were as follows: 1. Students were found to have high misconceptions in almost all conceptions tested. For 9 conceptions tested, more than 50 percent of students had misconception. 88.78 percent of students had misconception in the 6th conception and 38.25 percent in the 3rd conception. Student had misconception at the average 66.93 percent. 2. With respect to gender, 64.26 percent of male student had misconception. The highest percentage (88.31 percent) of misconception was in the 6th conception and the lowest percentage (33.52 percent) was in the 3rd conception. On the other hand, 67.55 percent of female student had misconception. The highest percentage (89.00%) of misconception was in the 6th conception and the lowest percentage (40.45%) was in the 3rd conception. 3. Setting the correct total score of students at one and the incorrect total score of students at zero, the mean conception for each province was as follow: Narathiwat, mean=0.46 and standard deviation=0.21; Pattani, mean=0.36 and standard deviation=0.21; Yala, mean=0.30 and standard deviation=0.17; and Satun, mean=0.22 and standard deviation=0.11. 4. The Misconceptions of male and female students was significantly different at the level of .05 5. The Misconceptions of student in each province was significantly different at the level of .05 Keywords: misconception, mechanical equilibrium, provincial schools in educational region two


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548