Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 20, No. 4 (2014) open journal systems 


ผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการจัดการความรุนแรง ต่อการป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนแกนนำเยาวชนระดับมัธยมศึกษา
The Effects of Violence Management Skills Training Program for Core-Team High School Youths in Preventing Aggressive behaviors


วินีกาญจน์ คงสุวรรณ, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วันดี สุทธรังษี, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ถนอมศรี อินทนนท์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วีณา คันฉ้อง, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Vineekarn Kongsuwan, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University
Wandee Suttharangsee, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University
Tanomsri Intanon, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University
Weena Chanchong, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University


Abstract
The objective of this quasi-experimental study was to determine the effects of violence management skills training program for core-team of higher secondary school youths in preventing aggressive behaviors. The samples are 70 adolescent students with aged 15-19 years. They were divided into control and experiment groups, each equally consisted of 35 students. Both groups were voluntarily participated in the program for 12 weeks. The instruments of the study, developed from the synthesis of violence concept and Orem’s self-care theory, consisted of the training program for core-team of higher secondary school youths, manual for violence management, Aggressive Behavior Scale (ABS), and Violent Management Skills Test (VMST). Program, manual and all questionnaires were validated for content and construct by experts. Aggressive Behavior Scale (ABS), and Violent Management Skills Test (VMST) were tested for internal consistency which gave the values of 0.84 and 0.81, respectively. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviations, independent t-test and paired t-test. The results showed that after attending the program, experiment group has significantly decreased in aggressive behavior and significantly increased in violence management skill (p<.001). The experiment group had aggressive behavior score lower than that of control group and had violence management skill higher than that of control group (p<.05) in all skills, including coping, interpersonal relationship, stress and emotional coping, and social responsibility skills. This study suggested that the training program for core-team of higher secondary school youths in preventing violence could be used as a guideline to develop curriculum for caring adolescent students in the school. It can also be used to increase adolescent’s abilities in self-care and care for others, in particular to improve knowledge and understanding of violence and using of violence management skills. Moreover, manual and activities preventing violence, as innovation, could be used for continuous learning.

Keywords: Core-Team Youths, Violence management skills, Violence prevention program, Aggressive behavior, Secondary school br>
บทคัดย่อ
การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมพัฒนาทักษะการจัดการความรุนแรงต่อการป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวของแกนนำเยาวชนระดับมัธยมศึกษา ต่อการป้องกันความรุนแรง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนวัยรุ่นอายุ 15-19 ปี จำนวน 70 รายโดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองกลุ่มละ 35 ราย ที่สมัครใจเข้าร่วมการทดลอง ซึ่งกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมในโครงการตลอดระยะเวลา 12 สัปดาห์และกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ พัฒนาขึ้นโดยการสังเคราะห์แนวคิดความรุนแรง และทฤษฎีการดูแลตนเองของ Orem เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือโปรแกรมพัฒนาแกนนำเยาวชนเพื่อป้องกันความรุนแรง คู่มือการจัดการความรุนแรงในวัยรุ่น แบบสอบถามพฤติกรรมก้าวร้าว และแบบวัดทักษะการจัดการความรุนแรง โดยมีค่า Cronbach’s Alpha Coefficient เท่ากับ 0.84 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวลดลง และมีคะแนนทักษะการจัดการความรุนแรงเพิ่มขึ้น หลังเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวต่ำกว่ากลุ่มควบคุม และมีทักษะการจัดการความรุนแรงสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกทักษะ ได้แก่ ทักษะการเผชิญปัญหา ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ทักษะการจัดการอารมณ์และความเครียด และทักษะความรับผิดชอบต่อสังคม ดังนั้นโปรแกรมพัฒนาทักษะการจัดการความรุนแรงต่อการป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวของแกนนำเยาวชนจะเป็นแนวทางการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในโรงเรียนเพื่อเพิ่มความสามารถในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการมีพฤติกรรมก้าวร้าว โดยเฉพาะการช่วยพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความรุนแรง และการใช้ทักษะการจัดการความรุนแรงได้ นอกจากนั้นนวัตกรรมที่เป็นคู่มือ และกิจกรรมการป้องกันการใช้ความรุนแรงจะเป็นแหล่งสำหรับเรียนรู้อย่างต่อเนื่องต่อไป

คำสำคัญ: แกนนำเยาวชน, ทักษะการจัดการความรุนแรง, โปรแกรมการป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าว, พฤติกรรมก้าวร้าว, โรงเรียนมัธยมศึกษา


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548