|
ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายผลการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยและผลการเรียนระดับมหาวิทยาลัยกับผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ปีการศึกษา 2546-2550 Relationships among Secondary Educations Learning Achievement, Entrance Examination Score, University Educations Learning Achievement, and Academic Achievement of Graduates at Prince of Songkla University, Pattani Campus (Academic Year 2003-2007)
|
ปฐมา อาแว, กองแผนงานวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มนสิการ เปรมปราชญ์, กองแผนงานวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พิศมัย เพียรเจริญ, กองบริการการศึกษาวิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Patama Arwae, Planning Division, President Office, Prince of Songkla University Monsikarn Premeprat, Planning Division, President Office, Prince of Songkla University Pissamai Pianchrean, Educational Division, President Office, Prince of Songkla University |
Abstract
This research aimed to identify the relationships
between academic achievement of graduates and
the following variables: the secondary educations
learning achievement, entrance examination score.
University educations learning achievement and
academic achievement of graduates at Prince
of Songkla University, Pattani campus (Academic
year 2003-2007). The study population comprised
of 10,897 of undergraduate students at Prince
of Songkla University, Pattani Campus in academic
year 2003-2007. The secondary data were collected
from Registration Office at Pattani and Hat yai
Campus. Data were analyzed using chi-square test,
odds ratio and logistic regression model. The results
show that the secondary educations learning
achievement, entrance examination score, university
educations learning achievement, were statistically
significantly associated with academic achievement
of graduates (p-value = .01). The undergraduate
students who got GPA less than 2.00 in secondary
and university educations graduated (7.4%) less than
those who got GPA 3.00 and higher (95%).
Undergraduate students who obtained entrance
examination scores higher than 40% were more
likely to have academic achievement of graduates
higher than those who obtained lower than 30%.
Results from logistic model show that academic
achievement of graduates was statistically
significantly. Associated with secondary educations
learning achievement, entrance examination score,
university educations learning achievement, and
personal/environment factors, included gender,
religion, hometown, year of study and field of study
in secondary education (p-value = .01), except
faculty where students studied which found no
significant relationship with academic achievement.
Keywords: academic achievement, graduated,
logistic regression
บทคัดย่อ
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความ
สัมพันธ์และสร้างสมการทำนายระหว่างผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการสอบ
คัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย และผลการศึกษาระดับ
มหาวิทยาลัย กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา
ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิทยาเขตปัตตานี รุ่นปีการศึกษา 2546-2550 จำนวน
10,897 คน เก็บรวมรวบข้อมูลจากฐานข้อมูล สน.12
คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPAX) จากงานทะเบียนและสถิติ
นักศึกษา กองบริการการศึกษา วิทยาเขตปัตตานี และ
คะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย จากงานรับนักศึกษา
กองทะเบียนและประมวลผล วิทยาเขตหาดใหญ่
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติไคสแควร์ การหาอัตราส่วน
ออดส์ (Odds ratio) และสร้างสมการทำนายการถดถอย
ลอจิสติกส์ (Logistic regression) ผลการศึกษา พบว่า
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ระดับคะแนนสอบเข้ามหาวิทยาลัย และผลการเรียน
ระดับมหาวิทยาลัยมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนระดับปริญญาตรี อย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติที่ระดับ .01 โดยนักศึกษาที่มีผลการเรียนเฉลี่ยใน
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และระดับมหาวิทยาลัย
น้อยกว่า 2.00 มีโอกาสสำเร็จการศึกษาระดับปริญญา
ตรีตํ่ากว่านักศึกษาที่มีผลการเรียนเฉลี่ย 3.00 ขึ้นไป
คิดเป็น 2.8 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาที่มีผล
การเรียนเฉลี่ยในมหาวิทยาลัยน้อยกว่า 2.00 สำเร็จ
การศึกษา คิดเป็นร้อยละ 7.4 ในขณะที่นักศึกษาที่มี
คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 3.00 สำเร็จการศึกษา คิดเป็น
ร้อยละ 95.0 สำหรับนักศึกษาที่มีคะแนนสอบเข้า
มากกว่าร้อยละ 40 ขึ้นไป จะสำเร็จการศึกษาสูงกว่า
กลุ่มที่มีคะแนนสอบเข้าน้อยกว่าร้อยละ 30 คิดเป็น
2.45 เท่าการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการถดถอย
ลอจิสติกส์ที่สามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักศึกษา พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับ
มัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) คะแนนสอบเข้า
มหาวิทยาลัย ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาระดับ
มหาวิทยาลัย (GPAX) และปัจจัยส่วนตัว/ปัจจัยด้าน
สิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย เพศ ศาสนา ภูมิลำเนา ปีการ
ศึกษา และสาขาระดับมัธยมศึกษา มีความสัมพันธ์กับ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ที่ระดับ .01 ยกเว้นคณะที่นักศึกษาสังกัด ไม่พบว่ามี
ความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
คำสำคัญ:
การถดถอยลอจิสติกส์, ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน, สำเร็จการศึกษา
|
|
|
|
| | | | | | | |
Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113 *บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา *All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.
© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand จำนวนผู้เยี่ยมชม
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
|
|