|
แบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทยในภาคใต้
|
สุพจน์ โกวิทยา, ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นิพนธ์ ทิพย์ศรีนิมิตร, ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ สนั่น เพ็งเหมือน, ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อิสมาแอ อาลี, ภาควิชาอิสลามศึกษา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาวิเคราะห์แบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทยในภาคใต้และเพื่อกำหนดรูปแบบและแนวทางการส่งเสริมและเสริมสร้างแบบแผนการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทยในภาคใต้ โดยศึกษาหลักสูตรและระบบการเรียนการสอนชนบทศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการในภาคใต้
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลภาคสนามประกอบด้วยผู้บริหาร อาจารย์ผู้สอน นักศึกษาและผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้องกับชนบทศึกษาจากมหาวิทยาสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สถาบันราชภัฏสุราษฎร์ธานี สถาบันราชภัฏภูเก็ต สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช สถาบันราชภัฏสงขลา และสถาบันราชภัฏยะลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ผู้บริหาร แบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน และแบบสัมภาษณ์เจาะลึกอาจารย์ผู้สอน นักศึกษา และผู้นำชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลภาคสนาม มีการจัดการสัมมนาเพื่อตรวจสอบข้อมูลโดยเชิญผู้บริหารและอาจารย์ผู้สอนจากสถาบันดังกล่าวข้างต้นมาให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) รูปแบบการเรียนรู้เกี่ยวกับชนบทไทยจากการจัดหลักสูตร หรือรายวิชาในมหาวิทยาลัยและสถาบันราชภัฏในภาคใต้จำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ หลักสูตรหรือรายวิชาที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับชนบทโดยตรง (มีเนื้อหาชนบทศึกษาเกินร้อยละ 50 ) หลักสูตรหรือรายวิชาที่มีเนื้อหาชนบทศึกษาไม่เกินร้อยละ 50 และหลักสูตรหรือรายวิชาที่มีเนื้อหาชนบทศึกษาบางส่วน (น้อยกว่าร้อยละ 25 ) วิธีการสอนที่นิยมคือ การบรรยาย การอภิปรายและการสอนแบบระดมความคิด การสอนแบบปฏิบัติงานภาคสนามเป็นวิธีการสอนที่อาจารย์ผู้สอนคิดว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด เกณฑ์ในการประเมินผลพิจารณาจากผลงานและกิจกรรมของนักศึกษา การสอบกลางภาคและปลายภาคการศึกษา
2) ผลการศึกษาหลักสูตรหรือรายวิชาที่จัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับชนบทโดยตรง พบว่ายังขาดความเชื่อมโยงระหว่างกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาและของชาวชนบท เนื่องจากสถาบันการศึกษายังมุ่งให้ความสำคัญกับกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาเฉพาะในกระบวกการจัดทำโครงการเท่านั้น และให้ชาวชนบทมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการทุกขั้นตอน
3) ปัญหาและอุปสรรคสรุปได้ 4 ด้าน คือ (1) หลักสูตรที่ใช้ยังล้าหลังและไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง (2) จำนวนผู้สอนมีจำนวนจำกัด โดยเฉพาะในสถาบันราชภัฏ ทำให้ต้องจ้างอาจารย์พิเศษมาช่วยสอน (3) ผู้เรียนในแต่ละกลุ่มมีมากเกินไปและส่วนใหญ่ขาดความตั้งใจศึกษา (4) การจัดการเรียนการสอนยังเน้นภาคทฤษฎีและเรียนในห้องเรียนเป็นหลัก ตำราที่จะให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองมีน้อยและล้าสมัย และระเบียบทางราชการก็ไม่เอื้อต่อการศึกษานอกสถานที่มากนัก
4) เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวข้างต้น หลักสูตรหรือรายวิชาที่เกี่ยวกับชนบทศึกษาต้องแก้ไขให้ทันสมัยและสอดรับกับความต้องการของชุมชน ต้องมีการพัฒนาคณาจารย์ผู้สอนให้ก้าวทันกับสาขาวิชา ต้องกระตุ้นให้ผู้เรียนตระหนักในความสำคัญของชนบทและภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตน นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาฐานข้อมูลชนบทศึกษาให้ทันสมัยและจัดให้มีชุมชนต้นแบบของการเรียนรู้และพัฒนา รวมทั้งสร้างเครือข่ายชุมชนในพื้นที่เพื่อเชื่อมโยงการเรียนรู้ร่วมกัน
คำสำคัญ : ชนบทศึกษา, สถาบันอุดมศึกษา, ภาคใต้
This research aimed to investigate the formal learning patterns in Thai rural studies in Southern Thailand, determining the specific forms and proposing guidelines for promotion and supplementation. Rural studies curriculums as well as their teaching-learning systems in tertiary institutions under the Ministry of university Affairs and the Ministry of Education in Southern Thailand were investigated.
The population and samples for field study consisted of administrators, lecturers, students and community leaders involved in rural studies from Prince of Songkla University, Thaksin University, Walailak University, and Rajabhat Institutes in Surat Thani, Phuket, Nakhon Si Thammarat, Songkhla and Yala. In collecting the data, three set of interview schedules were used: one for administrators, another for lecturers, and the other for lecturers, students and community leaders. The data was analyzed using analytical induction. After the field data was analyzed, a seminar was held to verify the data. Administrators and lecturers from the aforementioned institutions were requested to express opinions and suggestions.
The findings were as follows :
1) Three formal learning patterns were identified in Thai rural studies curriculums or courses offered the University and Rajabhat Institutes in Southern Thailand: curriculums or courses with more than 50 %, less than 50 % and less than 25 % of course content on rural studies. Lecture, discussion and brainstorming were the most popular teaching methods. However, in the opinion of lecturers, the most effective method was field study. Course evaluation was based on students assignments and activities, mid-semester and final exam.
2) In the investigation of curriculums or courses with more than 50% of content on rural studies, it was found that there was a lack of linkage between the student process of learning and that of local people. The educational institutions focused mainly on the students process of learning, with respect particularly to project preparation, and the villages were allowed to participate in all steps of project administration.
3) Four categories of problem/obstacles could be identified: (1) the current curriculums were quite dated and did not correspond to the real situations, (2) there was a limited number of lecturers, and in the Rajabhat Institutes part-time lecturers had to be recruited, (3) learners were inattentive and there were too many student in each section, and (4) instruction was mainly theory-based and confined only to classroom learning. Textbooks to facilitate self-study were limited or obsolete, and red tape did not facilitate field or no-site study.
4) To solve the problems above, rural studies curriculums or courses should be updated to respond fully to the needs of the communities. Lecturers knowledge and skills should be upgraded to keep pace with progress in the field. Students should be made aware of the significance of their communities and proud of them. In addition, an up-to-date rural studies database should be set up, model communities for learning and development should be formed, and local community networks should be built to bring about linkage in learning among related parties.
Keywords: Rural Studies, Tertiary Institution, Southern Thailand
|
|
|
|
| | | | | | | |
Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113 *บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา *All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.
© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand จำนวนผู้เยี่ยมชม
ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548
|
|