Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 19, No. 3 (2013) open journal systems 


ครอบครัวกับการสร้างเสริมพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
Family and Health Promoting Behavior of the Elders


พัชรี คมจักรพันธุ์, คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Patcharee Komjakraphan, Faculty of Nursing, Prince of Songkla University.


Abstract
Health promoting behavior defined as a personal health practice in daily life to enhance health status and well-being. The result from health behavioral survey of the Thai elderly in 2008 found that less than half of them exercise regularly and have an annual check-up. Moreover, the elders’ healthy behaviors such as regular diet or eating behavior, stress management and rephrase are insufficiently proper for good health promotion. These reflect health behavioral problem older aduts. Factors enhancing health promoting behavior among Thai elders were self value, self efficacy, perceived benefits (self esteem). Inadditon, social support from family was found to be one of crucial predictive factors to health promoting behavior. Family has always been to be a cornerstone of the elderly. Therefore, family is great importance for moral support to enhance health behavior of the senior citizen

Keywords: Family, Health Promoting Behavior, the Elders

บทคัดย่อ
พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพเป็นการปฏิบัติกิจกรรมทางด้านสุขภาพในชีวิตประจำวันเพื่อยกระดับภาวะสุขภาพและให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น ผลการสำรวจพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุไทยเมื่อปี 2551 พบว่ามีผู้สูงอายุไม่ถึงครึ่งหนึ่งออกกำลังกายเป็นประจำและได้รับการตรวจสุขภาพในรอบปี นอกจากนี้ยังพบว่า พฤติกรรมของผู้สูงอายุยังไม่เหมาะสมหรือเพียงพอในการส่งเสริมสุขภาพที่ดี เช่น พฤติกรรมด้านการรับประทานอาหาร การจัดการกับความเครียดและความรับผิดชอบต่อสุขภาพอยู่ระดับต่ำ ซึ่งสะท้อนให้เห็นปัญหาพฤติกรรมสุขภาพในผู้สูงอายุ ทั้งนี้ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญคือ ความรู้สึกที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติกิจกรรม ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง การรับรู้สมรรถนะของตน การรับรู้ประโยชน์ของการกระทำพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคม และพบว่าการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่ร่วมทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้สูงอายุได้ ครอบครัวเป็นสถาบันที่อยู่ใกล้ชิดมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อผู้สูงอายุมากที่สุด เป็นสถาบันที่ให้ความรัก ความอบอุ่น ความปลอดภัย ความไว้วางใจแก่ผู้สูงอายุและยังเป็นแหล่งพึ่งพิงที่สำคัญในการดูแลผู้สูงอายุ ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นแหล่งสนับสนุนให้ความช่วยเหลือที่มีบทบาทมากที่สุดต่อการสนับสนุนผู้สูงอายุให้มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่เหมาะสม

คำสำคัญ: ครอบครัว, ผู้สูงอายุ, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548