Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 19, No. 3 (2013) open journal systems 


การเปรียบเทียบการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัย: กรณีศึกษานักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
A Comparison of Information Literacy and Information and Communication Technology Literacy with Academic Achievement of University Students: A Case Study of Prince of Songkla University, Pattani Campus


ศลิษา เลี่ยมสุวรรณ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ชุ่มจิตต์ แซ่ฉั่น, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

Salisa Leamsuwan, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University
Chumchit Saechan, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University


Abstract
The main objectives of this research were to compare the information literacy (IL) and information and communication technology literacy (ICT) with the academic achievements, ranking in 6 levels from very poor, poor, fair, good, very good, and excellent, of students at Prince of Songkla university, Pattani campus and to study the relationship between the IL and ICT, and the academic achievements of the students. The 362 sampling subjects were the second to fourth year undergraduate students of the academic year of 2011. Data were collected from the IL test, developed based on five IL standards of the ACRL: Determine, Access, Evaluate, Use, and Understand; and ICT tests, based on The iSkills seven standards: Define, Access, Manage, Integrate, Evaluate, Create, and Communicate. The results revealed that undergraduate students of Prince of Songkla University, Pattani Campus had the IL and ICT as a whole at a moderate level ( = 2.58) and the level of IL and ICT were related to the academic achievement variables at the 0.001 of significance. Comparisons between the IL and ICT as a whole, the IL as a whole and the ICT as a whole and the academic achievement of students showed that there were significant differences at the 0.001 level which was consistent with the hypothesis of this study in that the second to fourth year students with different levels of academic achievements was to have different levels of the IL and ICT. Using Scheffe test for each of the IL and ICT standards, the study also found that students with high level of academic achievements, had a level of IL and ICT higher than students with low level of academic achievements.

Keywords: ICT literacy and academic achievement, IL literacy and academic achievement, Information and technology and communication literacy, information literacy, Prince of Songkla University students

บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีใน 6 ระดับ ได้แก่ อ่อนมาก อ่อน พอใช้ ดี ดีมาก และดีเยี่ยม และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรู้สารสนเทศกับการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของนักศึกษากับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ถึงชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในปีการศึกษา 2554 จำนวน 362 คน ใช้แบบทดสอบการรู้สารสนเทศที่พัฒนาขึ้นอิงตามมาตรฐานการรู้สารสนเทศ ACRL จำนวน 5 มาตรฐาน ได้แก่ 1) การกำหนดชนิดและขอบเขต 2) การเข้าถึง 3) การประเมิน 4) การใช้ และ 5) การใช้อย่างถูกต้องตามหลักจริยธรรมและกฎหมาย ส่วนแบบทดสอบการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอิงมาตรฐาน The iSkills จำนวน 7 มาตรฐาน ได้แก่ 1) การกำหนดขอบเขต 2) การเข้าถึง 3) การจัดการ 4) การบูรณาการ 5) การประเมิน 6) การสร้างสรรค์ และ 7) การสื่อสาร ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยรวม อยู่ที่ระดับปานกลาง ( = 2.58) ระดับการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และเปรียบเทียบการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยรวม การรู้สารสนเทศโดยรวม และการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารโดยรวม กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 สอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่านักศึกษาชั้นปีที่ 2 ถึงชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่แตกต่างกันจะมีระดับการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแตกต่างกัน และการทดสอบรายคู่แต่ละมาตรฐานด้านการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร พบว่านักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระดับสูง จะมีระดับการรู้สารสนเทศและการรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สูงกว่า นักศึกษาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ระดับต่ำ ในทุกมาตรฐานที่พบความแตกต่างรายคู่

คำสำคัญ: การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, การรู้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกับ, การรู้สารสนเทศ, การรู้สารสนเทศกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548