Home | Current | Archives | About | Login | Notification | Contact | Search
 Songklanakarin : E-Journal of Social Sciences & Humanities > Vol. 7, No. 3 (2001) open journal systems 


สวัสดิการของสังคมไทย

ชูศักดิ์ จรูญสวัสดิ์, ภาควิชาสารรัตถศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์


Abstract
บทความนี้มุ่งศึกษาตัวชี้วัดสวัสดิการ การใช้จ่ายเพื่อสวัสดิการของรัฐบาลไทยและต่างประเทศ และผลการวิจัยเกี่ยวกับสวัสดิการของคนไทยเพื่อสรุปภาพรวมสวัสดิการของสังคมไทย สัดส่วนการใช้จ่ายสวัสดิการต่อรายจ่ายรวมชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลไทยมุ่งเน้นด้านการศึกษา เช่นเดียวกับประเทศสหรัฐอเมริกา ฟินแลนด์และญี่ปุ่น ในขณะที่ภาคเอกชนของไทยกลับเน้นด้านอาหารและเครื่องดื่ม เช่นเดียวกับฟินแลนด์ ญี่ปุ่น อังกฤษและสวีเดน โครงการความมั่นคงทางสังคมที่รัฐบาลไทย ไม่ได้จัดให้ประชาชนคือโครงการประกันการว่างงานและโครงการประกันเงินสงเคราะห์ครอบครัว ตัวชี้วัดบางตัว เช่น ความจำเป็นพื้นฐานและเครื่องชี้ภาวะสังคม ระบุก่อนปี พ.ศ.2540 สวัสดิการด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมยังไม่ค่อยดีนัก อย่างไรก็ตามตัวชี้วัดที่รวบรวมโดยธนาคารโลกกลับชี้ว่าในด้านสุขภาพ การศึกษา การกระจายรายได้และด้านสิ่งแวดล้อม สวัสดิการของไทยยังด้อยกว่าอีกหลายประเทศ คำสำคัญ : การใช้จ่าย, ความจำเป็นพื้นฐาน, ตัวชี้วัด, สวัสดิการ, สังคมไทย This article investigated social welfare indicators and expenditure by the Thai and foreign governments as well as related research on welfare in Thailand in order to derive the overall picture of Thai social welfare. Thailand, like the United States, Finland and Japan, spent a greater proportion of its total expenditure on education whereas private sectors in Thailand, like those in Finland, Japan, the United Kingdom and Sweden, spent more on food and beverages. However, two forms of social security programs unemployment and family allowance schemes have not been provided by the Thai government. Certain indicators such as basic minimum needs, and social condition indicators. Showed that prior to 1997 there was some satisfaction among Thai citizens with respect to social welfare, especially in the areas of education, work, welfare assistance, and recreation, but there was dissatisfaction concerning health and environment. Nevertheless, the indicators reported by the World Bank especially those relating to health. Education, distribution of income, and the environment, showed that Thai society has achieved lower levels of welfare than other countries. Keywords : basic minimum needs, expenditure, indicators, Thai society, welfare


Full Text: PDF





Research
Support Tool
  For this
peer-reviewed article
  Context
  Action





Home | Current | Archives | Forum | About | Login | Notify | Contact | Search

Songklanakarin: E-Journal of Social Sciences & Humanities. ISSN: 0859-1113
*บทความทุกเรื่องจะได้รับการตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ *ข้อความและบทความในวารสารสงขลานครินทร์เป็นแนวคิดของผู้เขียน มิใช่เป็นความคิดเห็นของคณะผู้จัดทำและมิใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ *กองบรรณาธิการไม่สงวนลิขสิทธิ์การคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงที่มา
*All articles submitted for publication will be assessed by a group of distinguished reviewers. *The university and the editorial board claim no responsibility for the contents or views expressed by the authors of individual articles. *Copying is allowed freely, provided acknowledgement is made thereof.

© since 1994. All rights reserved by Prince of Songkla University, Thailand

จำนวนผู้เยี่ยมชม ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548