การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายและทำความเข้าใจเกี่ยวกับค่านิยมที่มีผลต่อการเรียนกวดวิชาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลใช้วิะสังเกตการเรียนการสอนในโรงเรียนกวดวิชาและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกต่อกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนที่กวดวิชาในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ผู้ปกครองของนักเรียนที่กวดวิชา ครูโรงเรียนกวดวิชา และครูในโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยเก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม พ.ศ.2542 ผลการวิจัยพบว่า ค่านิยมที่มีผลต่อการเรียนกวดวิชาเกิดจากปัจจัยต่อไปนี้ ได้แก่ นักเรียนมีความเชื่อว่าในโรงเรียนกวดวิชามีการสอนเทคนิคคิดลัด การสอนใช้วิธีการเชื่อมโยงเนื้อหาบทเรียน จุดมุ่งหมายการสอนที่ต่างกันระหว่างโรงเรียนกวดวิชาและโรงเรียนมัธยมศึกษา อาจารย์จากมหาวิทยาลัยในโรงเรียนกวดวิชามีคุณภาพการสอนดี ข้อสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยไม่กระจายเนื้อหาบทเรียน การกวดวิชาไม่ได้ประกันว่าจะต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ แต่ทำให้ได้ฝึกทำโจทย์ตัวอย่างข้อสอบมากขึ้น การกวดวิชาไม่ส่งผลเสียต่อการเข้าร่วมกิจกรรมในโรงเรียนและครอบครัว และการกวดวิชาถือว่าเป็นการลงทุนทางการศึกษาอย่างหนึ่ง
คำสำคัญ : กวดวิชา, ค่านิยม, มัธยมศึกษา
The objective of this qualitative research was to describe and discern the values that affected the coaching of upper secondary school students. The data was collected from May to October in 1999. Through observation of teaching and learning in coaching schools. and in-depth interviews with tutored students in Hatyai City Municipality, Songkhla Province, Their parents, teachers from coaching schools and teachers from high schools. Certain values affecting the needs for coaching were found to stem from the students belief that coaching schools could provide some shortcuts to problem solving, and integration of lessons; that coaching schools and high schools had different aims of teaching; that university lecturers who were also teachers at coaching schools offered good quality of teaching; that the Entrance Examination papers did not cover the entire lessons; that coaching allowed the students to practice doing sample examination questions although it did not guarantee that they would be admitted to the university; that coaching had no detrimental effects on school and family activities, and that coaching was counted as one of the worthwhile educational investments.
Keywords : coaching, secondary education, values
Copyright for articles published in this journal is retained by the authors, with first publication rights granted to the journal. By virtue of their appearance in this open access journal, articles are free to use, with proper attribution, in educational and other non-commercial settings.